การจับ โดยไม่มีหมายจับเพราะบุคคลนั้นได้กระทำความผิดซึ่งหน้า

การจับโดยไม่มีหมายจับเพราะได้กระทำความผิดซึ่งหน้า มีหลักกฎหมายที่เกี่ยวข้องคือ พระราชบัญญัติวิธีพิจารณาความอาญา พ.ศ.๒๔๗๗ มาตรา ๗๘ อนุมาตรา ๑ วางหลักว่า พนักงานฝ่าย ปกครองหรือ ตำรวจ มีอำนาจจับ บุคคล โดยไม่มีหมายจับ ได้ เมื่อบุคคลนั้นได้กระทำความผิดซึ่งหน้า ตามที่ บัญญัติไว้ ในพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาความอาญา พ.ศ.๒๔๗๗ มาตรา ๘๐

ความหมายของความผิดซึ่งหน้า สามารถ แยกออกได้เป็น ๒ ประเภท คือ

๑ . ความผิดซึ่งหน้าอย่างแท้จริง

๒ . ความผิดที่ถือว่าเป็นความผิดซึ่งหน้า

ลักษณะการกระทำความผิดที่จะเป็นความผิดซึ่งหน้าได้แก่ เห็นบุคคลดังกล่าวกำลังกระทำ ความผิด หรือ พบในอาการใดซึ่งแทบจะไม่มีความสงสัยเลยว่าเขาได้กระทำความผิดมาแล้วสดๆ

ยกตัวอย่างเช่น ตำรวจเห็นบุคคลหลายคนกำลังลักลอบเล่นการพนันกันอยู่จึงดำเนินการเข้า จับกุม กรณีนี้เป็นการพบเห็นบุคคลกำลังกระทำความผิด (อ้างอิงจาก ฎีกา ๖๙๘/๒๕๑๖ ) หรือ เจ้าหน้าที่ ตำรวจเข้าไปสถานที่ค้าประเวณีและได้พบว่า นาย ก.อยู่กับ นาง ข. สองต่อสอง ทั้งนี้นาย ก.ได้บอกว่าตนได้ ร่วมประเวณีกับนาง ข.แล้ว กรณีนี้ เป็น การพบในอาการใดซึ่งแทบจะไม่มีความสงสัยเลยว่าเขาได้กระทำความผิดมาแล้วสดๆ (อ้างอิงจาก ฎีกา ๖๙/๒๕๓๕) หรือ ก . กำลังยิง ข. เป็นกรณีเห็นว่า ข. กำลังกระทำ ความผิด หรือได้ยินเสียงปืนจึงวิ่งออกมาดู เห็น ก. กำลังนอนจมกองเลือดอยู่ และเห็น ข. ถือมีดอยู่ จะเป็น กรณีพบในอาการใดซึ่งแทบจะไม่มีความสงสัยเลยว่าเขาได้กระทำความผิดมาแล้วสดๆ

Facebook
Twitter
Email
WhatsApp