

ข้อเท็จจริง
ก.(ผู้ขาย) และ ข.(ผู้ซื้อ) ทา สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างราคา๓,๐๐๐,๐๐๐ บาท ชา ระมัดจา ๑,๐๐๐,๐๐๐ บาท ส่วนที่เหลือชา ระในวันโอนกรรมสิทธิ์ ภายในวันที่ ๕ เมษายน ๒๕๖๐ ต่อมาได้ชา ระอีกเป็นจา นวน ๑,๐๐๐,๐๐๐ บาท ในภายหลัง ข.(ผู้ซื้อ) ได้โอนสิทธิเรียกร้องในหนี้สินและสิทธิตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างให้กับ ค. โดยมีข้อตกลงให้ ค. ชา ระค่าที่ดินพร้อมสิ่ง ปลูกสร้างที่เหลือให้ ก. จำ นวน ๑,๐๐๐,๐๐๐ บาท
คำถาม สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง ผู้ซื้อ (ข.)ได้ชา ระราคาให้ผู้ขาย(ก.)ไปบางส่วน ต่อมาผู้ซื้อ (ข.)ทา หนังสือโอนสิทธิเรียกร้องตามสัญญาจะซื้อ จะขายให้แก่บุคคลอื่น (ค.) ผู้รับโอนสิทธิเรียกร้องจากผู้ซื้อ(ข.) ค.มีอา นาจฟ้องบังคับผู้ขาย (ก.) ให้โอนที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างได้หรือไม่ ?
ตอบ จากข้อเท็จจริงดังกล่าวสัญญาจะซื้อจะขายระหว่าง ก .และข.เป็นสัญญาต่างตอบแทนกล่าวคือ สัญญาที่คู่สัญญาต่างมีหนี้ต้องชา ระซึ่งกันและกันคู่สัญญาแต่ละฝ่ายจึงมีสถานะเป็นทั้งเจ้าหนี้และลูกหนี้ในสัญญาเดียวกัน จากกรณีข้างต้น ก.(ผู้ขาย) จึงเป็นเจ้าหนี้อันมีสิทธิเรียกร้องให้ ข.(ผู้ซื้อ)ชา ระราคาค่าที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ทั้งนี้ ก.(ผู้ขาย)ยังเป็นลูกหนี้อันมีหน้าที่ต้องส่งมอบที่ดินและสิ่งปลูกสร้างให้ ข. (ผู้ซื้อ) เช่นกัน ส่วน ข.(ผู้ซื้อ) ผู้ซื้อเป็นเจ้าหนี้มีสิทธิเรียกร้องให้ ก.(ผู้ขาย) ส่งมอบที่ดินและสิ่งปลูกสร้างและมีหน้าในฐานะลูกหนี้ตามสัญญาที่ต้องชา ระราคาค่าที่ดินและสิ่งปลูกสร้างให้กับ ก.(ผู้ขาย)การโอนสิทธิเรียกร้องคือ การโอนสิทธิความเป็นเจ้าหนี้ให้กับบุคคลผู้รับโอนสิทธิเรียกร้องดังนั้น การโอนสิทธิเรียกร้องจะโอนกันได้ก็เฉพาะแต่ความเป็นเจ้าหนี้เท่านั้น จากข้อเท็จจริง ข.(ผู้ซื้อ)ได้โอนสิทธิเรียกร้องในสัญญาจะซื้อจะขายมอบให้กับค.โดยข้อตกลงให้ ค. ชา ระค่าที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างที่เหลือให้ ก.(ผู้ขาย) จำ นวน ๑,๐๐๐,๐๐๐ บาท จึงเป็นการโอนไปซึ่งหน้าที่ของลูกหนี้ที่ต้องชา ระหนี้ให้กับเจ้าหนี้ คือ ก.(ผู้ขาย) กรณีเช่นนี้ไม่ต้องด้วย ป.พ.พ. มาตรา ๓๐๖ แต่เป็นการโอนหนี้โดยการเปลี่ยนตัวลูกหนี้จาก ข.(ผู้ซื้อ) มาเป็น ค. เพื่อให้ ค.ชา ระราคาค่าที่ดินและสิ่งปลูกสร้างตามสัญญาจะซื้อจะขายให้แก่ ก.(ผู้ขาย) กรณีนี้เป็นการแปลงหนี้ใหม่ด้วยการเปลี่ยนตัวลูกหนี้อันจะทาให้มีผลเป็นการระงับมูลหนี้เดิมและทา ให้เจ้าหนี้กับลูกหนี้คนใหม่มีผลผูกพันกัน ซึ่งจะต้องมีการทา สัญญาระหว่างเจ้าหนี้คือ ก.(ผู้ขาย)กับลูกหนี้คนใหม่คือ ค. ตาม ป.พ.พ. มาตรา ๓๕๐ ดังนั้นการที่ ข.และค.ทา หนังสือโอนสิทธิเรียกร้องกันแต่มิได้ทา สัญญาระหว่างเจ้าหนี้
กับลูกหนี้คนใหม่คือ ก.กับ ค.จึงไม่ต้องด้วยมาตรา ๓๕๐ ค.จึงไม่มีนิติสัมพันธ์กับ ก.ที่จะฟ้องให้ก.โอนที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างให้กับ ค. ได้
หลักกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ป.พ.พ. มาตรา ๓๐๖ มาตรา ๓๕๐
อ้างอิงจากฎีกา ๑๐๑๗ /๒๕๖๑