
ตัวอย่าง

คำถาม ลูกหนี้ได้รับหนังสือบอกกล่าวการชำระหนี้จากผู้รับโอนสิทธิเรียกร้องแล้วแต่ ลูกหนี้ได้ชำระหนี้ให้กับเจ้าหนี้คนก่อน เจ้าหนี้คนก่อนมีสิทธิรับชำระหนี้หรือไม่และ ลูกหนี้จะหลุดพ้นจากการชำระหนี้หรือไม่?
ตอบ การโอนสิทธิเรียกร้องคือ การที่เจ้าหนี้โอนสิทธิเรียกร้องที่ตนมีในมูลหนี้ให้กับ บุคคลอื่น อันมีผลทำให้บุคคลอื่นมีสิทธิเรียกร้องที่จะเรียกให้ลูกหนี้ชำระหนี้หรือบังคับ ชำระหนี้เอากับทรัพย์สินของลูกหนี้ได้ทั้งนี้การโอนสิทธิเรียกร้องจะให้มีผลสมบูรณ์ จะต้องพิจารณาถึง สภาพแห่งสิทธิเรียกร้องนั้นเปิดสภาพให้โอนกันได้หรือไม่ คู่กรณี ได้แสดงเจตนาไว้เป็นอย่างอื่นหรือไม่ ตาม ป.พ.พ. มาตรา ๓๐๓
ทั้งนี้ยังต้องพิจารณาหลักเกณฑ์ ตาม ป.พ.พ. มาตรา ๓๐๖ ประกอบด้วย จาก ข้อเท็จจริง ก. ในฐานะผู้โอนสิทธิเรียกร้องได้โอนสิทธิเรียกร้องให้กับ ค.ผู้รับโอนสิทธิ เรียกร้อง เป็นการโอนหนี้อันจะพึงต้องชำระแก่เจ้าหนี้เฉพาะเจาะจงเมื่อได้ทำเป็น หนังสือ ย่อมมีผลทำให้การโอนสิทธิเรียกร้องสมบูรณ์ตามป.พ.พ. มาตรา ๓๐๖ และ ค. ได้มีการทำหนังสือบอกกล่าวการโอนสิทธิเรียกร้องไปยัง ข.อันมีผลทำให้ ก. ไม่มี สิทธิจะรับชำระหนี้จาก ข. (ฎีกา ๔๘๕๕/๒๕๖๑) ทั้งนี้ยังมีผลทำให้ ก.ไม่มีสิทธิ เรียกร้องที่เรียกให้ข.ชำระหนี้ได้อีกเช่นกัน ( ฎีกา ๑๔๗ – ๑๔๘/๒๕๔๔ ) และ ก.ก็ไม่ มีสิทธิที่จะยกเลิกการโอนสิทธิเรียกร้องโดยไม่ได้รับความยินยอมจาก ค. (ฎีกา ๘๖/ ๒๕๓๔)
ข.(ลูกหนี้)ได้ชำระหนี้ให้กับ ก. ไปในภายหลังที่ได้รับหนังสือบอกกล่าวการโอน สิทธิเรียกร้องนั้น ตาม ป.พ.พ. มาตรา ๓๐๖ วรรคสอง วางหลักว่า ถ้าลูกหนี้ทำให้ พอใจแก่ผู้โอนด้วยการใช้เงิน หรือ ด้วยประการอื่นเสียแต่ก่อนได้รับบอกกล่าว หรือ ก่อนได้ตกลงให้โอนไซร้ ลูกหนี้นั้นก็เป็นอันหลุดพ้นจากหนี้ ตามมาตรานี้มีความหมาย ว่า ก่อนลูกหนี้ได้รับคำบอกกล่าวหรือก่อนลูกหนี้ตกลงยินยอมด้วยในการโอนสิทธิ เรียกร้อง หากลูกหนี้ได้ชำระเงิน หรือ กระทำประการใดจนเป็นที่พอใจแก่เจ้าหนี้ เช่น นำทรัพย์สินไปตีใช้หนี้ หนี้ย่อมระงับ ลูกหนี้ย่อมหลุดพ้นจากการชำระหนี้ จาก ข้อเท็จจริง ข.ชำระหนี้ให้กับ ก. ในภายหลังจากได้รับหนังสือบอกกล่าวการโอนสิทธิ เรียกร้องจาก ค. กรณีดังกล่าวจึงเป็นการชำระหนี้ให้กับผู้โอน (ก.) ภายหลังได้รับคำ บอกกล่าวไม่ทำให้ ข.หลุดพ้นจากการชำระหนี้ ข.ยังคงต้องชำระหนี้ให้กับ ค. ตาม ป. พ.พ. มาตรา ๓๐๖ วรรคสอง
สรุป ก. เมื่อได้โอนสิทธิเรียกร้องในมูลหนี้ให้กับ ค.และ ค.ได้มีหนังสือบอกกล่าวการ โอนสิทธิเรียกร้องไปยัง ข.แล้ว ก.เจ้าหนี้ผู้โอนสิทธิเรียกร้องย่อมขาดสิทธิที่จะรับชำระ หนี้ ส่วน ข. (ลูกหนี้) ได้ชำระหนี้ให้ ก. ภายหลังได้รับหนังสือบอกกล่าวการโอนสิทธิ เรียกร้องนั้น ข.ไม่หลุดพ้นจากการชำระหนี้และยังคงต้องชำระหนี้แก่ ค. ตามมาตรา ๓๐๖ วรรคสอง อ้างอิงจาก (ฎีกา ๔๘๕๕/๒๕๖๑)