จับกลางรายการโหนกระแส จับชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ???

ขอบคุณภาพจาก 77 ข่าวเด็ด


การจับ ตามหลักกฎหมายการจะจับผู้ใดต้องมีหมายจับ หรือคำสั่งของศาล เว้นแต่จะมีเหตุที่ไม่ต้องมีหมายจับ เช่นความผิดที่เห็นกำลังกระทำหรือที่เรียกว่าความผิดซึ่งหน้ากรณีนี้ไม่ต้องมีหมายจับก็จับได้ กรณีคุณนายดาวมีหมายจับของศาลจังหวัดนครศรีธรรมราช เมื่อมีหมายจับของศาลแล้วเจ้าพนักงานตำรวจก็สามารถจับกุมตัวได้ ไม่ว่าผู้ต้องหาจะอยู่ ณ สถานที่ใดในราชอาณาจักรเมื่อคุณนายดาวมาปรากฏตัวและเป็นบุคคลตามหมายจับจริง เจ้าหน้าที่ตำรวจก็จับกุมได้โดยถูกต้องตามกฎหมาย
เมื่อคุณนายดาวมาออกรายการโหนกระแสทางช่องสาม และมีหมายจับของศาลจังหวัดนครศรศรีธรรมราช เมื่อเจ้าพนักงานตำรวจตรวจสอบแล้ว พบว่าคุณนายดาวเป็นผู้ต้องหาตามหมายจับ และจาการตรวจสอบเป็นบุคคลตามหมายจับจริงก็สามารถจับกุมได้ และจากภาพข่าวการจับกุมเจ้าหน้าที่ตำรวจชุดจับกุมก็ได้แสดงหมายจับโดยเปิดเผยต่อหน้าคุณนายดาวผู้ถูกจับ และแจ้งสิทธิต่างๆ ตามกฎหมายให้ผู้ถูกจับทราบแล้ว จึงเป็นการจับที่ชอบด้วยกฎหมาย กรณีกลับกัน หากเจ้าหน้าที่ตำรวจทราบว่าคุณนายดาวมีหมายจับและปรากฏตัวต่อหน้าหากไม่จับเจ้าพนักงานตำรวจก็จะมีความผิดฐานละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ได้

ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 78 พนักงานฝ่ายปกครอง หรือ ตำรวจ จะจับผู้ใด โดยไม่มีหมายจับ หรือ คำสั่งของศาลนั้น ไม่ได้ เว้นแต่
(๑) เมื่อ บุคคลนั้น ได้กระทำความผิดซึ่งหน้า ดังได้บัญญัติไว้ใน มาตรา ๘๐
(๒) เมื่อ พบบุคคล โดยมีพฤติการณ์อันควรสงสัยว่า ผู้นั้น น่าจะก่อเหตุร้าย ให้เกิดภยันตรายแก่ บุคคลอื่น หรือ ทรัพย์สิน ของผู้อื่น โดยมีอาวุธ หรือ วัตถุอย่างอื่น อันสามารถอาจใช้ในการกระทำความผิด
(๓) เมื่อ มีเหตุที่จะออกหมายจับ บุคคลนั้นตาม มาตรา ๖๖(๒) แต่มีความจำเป็นเร่งด่วน ที่ไม่อาจขอให้ศาลออกหมายจับ บุคคลนั้นได้
(๔) เป็นการจับผู้ต้องหา หรือ จำเลย ที่หนี หรือ จะหลบหนี ในระหว่างถูกปล่อยชั่วคราวตาม มาตรา ๑๑๗

ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 81/1 ไม่ว่าจะมี หมายจับ หรือไม่ ก็ตาม ห้ามมิให้ จับในพระบรมมหาราชวัง พระราชวัง วัง ของ พระรัชทายาท หรือ ของ พระบรมวงศ์ ตั้งแต่ สมเด็จเจ้าฟ้า ขึ้นไป พระราชนิเวศน์ พระตำหนัก หรือ ในที่ซึ่ง พระมหากษัตริย์ พระราชินี พระรัชทายาท พระบรมวงศ์ ตั้งแต่ สมเด็จเจ้าฟ้า ขึ้นไป หรือ ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ประทับ หรือ พำนัก เว้นแต่
(๑) นายกรัฐมนตรี หรือ รัฐมนตรี ซึ่ง นายกรัฐมนตรี มอบหมาย อนุญาตให้จับ และ ได้แจ้ง เลขาธิการพระราชวัง หรือ สมุหราชองครักษ์ รับทราบแล้ว
(๒) เจ้าพนักงาน ผู้ถวาย หรือ ให้ความปลอดภัย แด่ พระมหากษัตริย์ พระราชินี พระรัชทายาท พระบรมวงศ์ ตั้งแต่ สมเด็จเจ้าฟ้า ขึ้นไป หรือ ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ เป็น ผู้จับ ตามกฎหมาย ว่าด้วย ราชองครักษ์ หรือ ตามกฎหมาย กฎ หรือ ระเบียบ เกี่ยวกับ การให้ความปลอดภัย

Facebook
Twitter
Email
WhatsApp