ถุกจับไม่ใส่แมสปรับอะไรดีกว่า ??

หากผู้กระทำความผิดที่ไม่ใส่แมส และถูกจับกุมดำเนินคดีในชั้นตำรวจ  ถ้าผู้กระทำความผิดยินยอมให้ปรับในชั้นตำรวจ  ก็จะถูกปรับตามอัตราดังนี้   คือ

                                                   ครั้งที่  1      จำนวน   6,000  บาท 

                                                   ครั้งที่  2     จำนวน  12,000 บาท

                                                   ครั้งที่  3     เป็นต้นไป   จำนวน  20,000   บาท    

         ซึ่งอัตราการเปรียบเทียบนี้เป็นอัตราตามระเบียบคณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ ว่าด้วยหลักเกณฑ์การเปรียบเทียบ พ.ศ.2563   ที่แนบท้ายระเบียบดังกล่าว แต่หากผู้กระทำความผิดไม่ยอมให้ปรับทางเจ้าหน้าที่ตำรวจ  (พนักงานสอบสวน) ก็จะดำเนินคดีทำสำนวนส่งพนักงายอัยการส่งฟ้องต่อศาล  และเป็นดุลพินิจของศาลว่าจะลงโทษปรับเป็นจำนวนเงินเท่าใด ซึ่งหากผู้กระทำความผิดให้การรับสารภาพ   ศาลก็อาจใช้ดุลพินิจลดโทษค่าปรับให้ครึ่งหนึ่งซึ่งอาจจะต่ำกว่าค่าปรับที่ผู้มีอำนาจเปรียบเทียบกำหนดก็ได้        

  ความแตกต่างของการยินยอมให้ผู้มีอำนาจเปรียบเทียบปรับ   กับการไม่ยอมเสียค่าปรับตามอัตราดังกล่าว   และถูกส่งฟ้องต่อศาล

  1. การเปรียบเทียมปรับในชั้นตำรวจจะปรับตามบัญชีอัตราการเปรียบเทียบ  ซึ่งครั้งแรกจะปรับจำนวน  6,000  บาท   ครั้งที่ 2  จำนวน   12,000  บาท  และครั้งที่  3 เป็นต้นไป   จะปรับจำนวน  20,000   บาท        ซึ่งอาจจะเป็นจำนวนที่มากกว่าศาลสั่งปรับ   เมื่อผู้กระทำผิดยอมให้ผู้มีอำนาจเปรียบเทียบปรับคดีอาญาเลิกกันตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
  2. แต่ถ้าไม่ยอมให้เปรียบเทียบปรับ   หรือคิดว่าไปปรับในชั้นศาลจะเสียค่าปรับน้อยกว่าที่กำหนดตามบัญชีอัตราการเปรียบเทียบ   แต่ผู้กระทำความผิดก็จะต้องถูกพิมพ์ลายนิ้วมือ หรือมีการส่งรายชื่อและเลขประจำตัวประชาชนไปตรวจสอบประวัติอาชญากรในฐานข้อมูลของกองทะเบียนประวัติอาชญากร   และรวบรวมเป็นสำนวนส่งพนักงานอัยการ  เพื่อพนักงานอัยการจะได้ส่งฟ้องศาล     ซึ่งจะทำให้ผู้ที่กระทำความผิดมีประวัติการกระทำผิดอยู่ในฐานข้อมูลของทางทะเบียนประวัติอาชญากร    และจะใช้เวลาในการดำเนินคดีมากกว่าในชั้นยินยอมให้เปรียบเทียบปรับกับทางผู้มีอำนาจเปรียบเทียบหรือชั้นตำรวจโดยไม่มีการส่งฟ้องศาล
Facebook
Twitter
Email
WhatsApp