บริษัทประกัน ประกันโควิด 19 จะยกเลิกสัญญประกัน โดยอ้างเหตุ การแพร่ระบาดมากขึ้นได้หรือไม่ ?

Doctor filling up a life insurance form

ก็มีประเด็นคำถามขึ้นมาในโลกโชเซียลว่า “ บริษัทผู้รับประกันภัยดังกล่าวมีสิทธิ์เลิกกรมธรรม์ประกันภัย โดยที่ผู้เอาประกันไม่ได้ยินยอมด้วย ได้หรือไม่”
ก็ต้องตอบด้วยหลักกฎหมายก่อนนะครับว่า เมื่อคู่สัญญาตกลงเข้าทำสัญญาต่อกันแล้ว ถือว่าสัญญาได้เกิดขึ้นแล้ว ในทางกฎหมายเขาเรียกว่า “คำเสนอ คำสนอง ถูกต้องตรงกัน” เป็นผลให้เกิดสัญญาขึ้นในกรณีที่ตามที่เป็นข่าว การบริษัทผู้รับประกันภัยได้เสนอขายกรมธรรม์ประกันภัย covid ขึ้นและเมื่อมีประชาชนสนองซื้อกรมธรรม์ประกันภัยดังกล่าวแล้ว จึงถือว่า “คำเสนอ คำสนอง ถูกต้องตรงกัน” เกิดเป็นสัญญาประกันภัย มีข้อผูกพันระหว่างผู้รับประกันภัย กับผู้เอาประกันภัย ที่แต่ละฝ่ายจะต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามข้อตกลงและเงื่อนไขในสัญญากรมธรรม์ประกันภัย และกรมธรรม์ประกันภัยดังกล่าวมีผลผูกพันตลอดอายุสัญญาตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในสัญญาประกันภัย

ฉะนั้นเมื่อสัญญามีผลผูกพันระหว่างคู่สัญญาแล้ว หากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะบอกเลิกสัญญา ก็ต้องเป็นไปตามเงื่อนไขอย่างใดอย่างหนึ่ง ใน 3 ประการคือ
1. มีเหตุเลิกโดยบทบัญญัติแห่งกฎหมาย
2. เมื่อมีข้อสัญญาให้เลิกกัน
3.เมื่อคู่สัญญาตกลงเลิกสัญญาต่อกัน
4. เมื่อคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งผิดนัดผิดสัญญา และคู่สัญญาอีกฝ่ายมีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้ฉะนั้นจากที่ปรากฏเป็นข่าวว่า หากบริษัทผู้รับประกันภัยจะบอกเลิกกรมธรรม์ประกันภัยจะต้องอาศัยเหตุ 4 ประการข้างต้นดังกล่าว จึงจะเป็นผลให้การบอกเลิกกรมธรรม์ประกันภัยเป็นไปโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย นั่นหมายความว่า “ กรมธรรม์ประกันภัยเลิกกัน ”


แต่อย่างไรก็ดี แม้ว่าเงื่อนไขในกรมธรรม์จะระบุว่า “ผู้รับประกันภัยบอกเลิกสัญญาได้โดยจะต้องบอกกล่าวล่วงหน้าภายใน 30 วัน” นั้น ก็ตาม
แต่โดยความเห็นส่วนตัว ในการบอกเลิกกรมธรรม์ดังกล่าวจะเป็นผลการเลิกกรมธรรม์ได้ก็ต่อเมื่อผู้เอาประกันได้ให้ความยินยอมด้วย ไม่ใช่สิทธิเด็ดขาดของผู้รับประกันที่จะบอกเลิกกรมธรรม์ได้แต่ฝ่ายเดียวตามอำเภอใจ
หากยินยอมให้ผู้รับประกันใช้สิทธิได้แต่ฝ่ายเดียวในการบอกเลิกกรมธรรม์ได้ เงื่อนไขในกรมธรรม์ดังกล่าวน่าจะเป็นข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม และขัดต่อกฎหมาย “ ตกเป็นโมฆะ หรือสูญเปล่ามาแต่ต้น ”
โดยสรุป เห็นว่า บริษัทผู้รับประกันภัย ไม่สามารบอกเลิกสัญญาได้โดยไม่ได้รับความยินยอมจากผู้เอาประกัน แม้จะมีเงื่อนไขให้บริษัทรับปรกันภัยบอกเลิกสัญญาได้

Facebook
Twitter
Email
WhatsApp