
จากสถานการณ์การแพร่ระบาด covid 19 มีผลกระทบโดยตรงต่อระบบเศรษฐกิจในภาพรวม ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจขนาดใหญ่ ขนาดกลาง หรือธุรกิจขนาดเล็กก็ตามและที่มีผลกระทบไม่ต่างกันก็คือเรื่องของมาตรการของรัฐ ในการที่กำหนดพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด มีผลกระทบโดยตรง ต่อการเปิดหรือการปิดกิจการ เช่นกันจากกสถานการณ์ดังกล่าว มีคำถามเข้ามามากมาย เข้ามาใน LawRai ไม่ว่าจะเป็นในส่วนของนายจ้าง กับลูกจ้าง ในส่วนของนายนายจ้าง เป็นกรณีคำถาม เกี่ยวการที่นายจ้างจะปิดกิจการบางส่วน หรือทั้งหมด เป็นชั่วคราว จะต้องทำอย่าไร และต้องจ่ายค่าจ้างให้กับลูกจ้างมากน้อยเพียงใดส่วนลูกจ้างก็มีคำถามในกรณีที่เกี่ยวกับ เป็นผู้ที่ติดติด covid หรือต้องกักตัวจากการอยู่ใกล้ชิดกับผู้ป่วยโควิด ว่าจะได้รับเงิน จากนายจ้าง หรือมีสิทธิที่จะได้รับเงินจากภาครัฐ หรือไม่เพียงใด นั้น
จากคำถามดังกล่าวข้างต้น LawRai เรามีคำตอบให้โดย แยกเป็นประเด็นในเรื่อง ของนายจ้างและลูกจ้าง ได้ดังนี้
- ประเด็นของนายจ้าง มีข้อพิจารณา ๒ ประการคือ
1.1. ประการแรก จากผลกระทบจากสถานการณ์ การแพร่ระบาดโควิด ส่งผลให้กิจการขาดทุน นายจ้างสามารถปิดกิจการบางส่วน หรือทั้งหมด ได้ ตาม พรบ คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 75 โดยนายจ้างต้องดำเนินการตามขั้นตอนดังนี้
1.1.1 ต้องแจ้งแก่ลูกจ้างและพนักงานตรวจแรงงานทราบล่วงหน้าเป็นหนังสือก่อนวันเริ่มหยุดกิจการไม่น้อยกว่า 3 วันทำการ
1.1.2 นายจ้างต้องจ่ายเงินให้แก่ลูกจ้างไม่น้อยกว่าร้อยละ 75 ของค่าจ้างในวันทำงานที่ลูกจ้างได้รับก่อนนายจ้างหยุดกิจการตลอดระยะเวลาที่นายจ้างไม่ได้ให้ลูกจ้างทำงาน
1.2 ประการที่สอง ปิดกิจการชั่วคราว หรือบางส่วน หรือทั้งหมด ตามคำสั่งของผู้ว่าราชการ หรือหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง ตาม พรบ. ควบคุมโรคติดต่อ พ.ศ. 2558 มาตรา 35 ซึ่งถือว่าเข้าเหตุสุดวิสัย ตามกฎหมาย และกฎกระทรวง นายจ้างทำได้ 2 กรณีคือ
1.2.1 นายจ้าง ไม่ต้องจ่ายค่าจ้างให้กับลูกจ้างตลอดระยะเวลาที่ปิดกิจการตามคำสั่งของทางราชการ
1.2.2 หรือหากนายจ้างใจดี นายจ้างจะจ่ายค่าจ้างในอัตราร้อยละ 50 ของค่าจ้าง ให้กับลูกจ้างได้ ถือว่านายจ้างทำเกินกว่าที่กฎหมายกำหนดและเป็นคุณกับลูกจ้าง นายจ้างกระทำได้
เมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม 2564 ได้มีประกาศเกี่ยวกับกิจการที่ในพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวดในพื้นที่ 6 จังหวัดได้แก่ กรุงเทพมหานคร นครปฐม นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการและสมุทรสาคร โดยให้ 4 กิจการหยุดกิจการชั่วคราวได้คือ
1. กิจการก่อสร้าง
2. กิจการที่พักแรมและบริการร้านอาหาร
3. กิจการศิลปะความบันเทิงและนันทนาการ
4. กิจกรรมกิจการ การบริการด้านอื่นๆ ที่ได้รับผลกระทบคำว่า “ กิจกรรมกิจการ การบริการด้านอื่นๆ” เช่น ร้านนวดแผนไทย/เพื่อสุขภาพ ร้นสปา เสริมความงาม เป็นต้น
- ส่วนประเด็นของลูกจ้าง
2.1 ในกรณีที่ลูกจ้างป่วยติด covid ลูกจ้างมีสิทธิ์ลาป่วย ได้เท่าที่ป่วยจริง แต่มีสิทธิ์ได้ค่าจ้าง 30 วันต่อปีเท่านั้น
2.2 ส่วนในกรณีที่ ลูกจ้างอยู่หรือใกล้ชิดกับผู้ที่ป่วย หรือติดเชื้อโควิคจำเป็นต้องกักตัวอยู่บ้านเพื่อเฝ้าดูอาการ 14 วัน หากนายจ้างไม่จ่ายค่าจ้าง ลูกจ้างมีสิทธิ์ไปขอรับเงินทดแทนการว่างงานในอัตราร้อยละ 50 ของค่าจ้างรายวันในช่วงกักตัว 14 วันที่สำนักงานประกันสังคม เป็นไปตามกฎกระทรวงที่ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 30 ธันวาคม 2563 แล้วนั้น
แต่หากนายจ้างใจดี ยังจ่ายค่าจ้างให้กับลูกจ้างในขณะกักตัว เฝ้าดูอากาศนั้นลูกจ้างจะไปรับเงินทดแทนจากจากสำนักงานประกันสังคมอีกทอดหนึ่งไม่ได้ แต่อย่างไรก็ดี ลูกจ้างที่จะขอรับเงินจากประกันสังคมได้ต้องเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 และต้องส่งเงินสมทบมาไม่น้อยกว่า 6 เดือนภายใน 15 เดือนเท่านั้น จึงจะขอรับเงินการว่างงานในอัตราร้อยละ 50 ของค่าจ้างระหว่างว่างงานชั่วคราวได้
นี่เป็นประเด็นหลักหลักๆ ตามคำถามของนายจ้างและลูกจ้างเท่านั้น ความจริงในเรื่องนี้ยังมีอีกหลายประเด็นที่สำคัญเอาไว้คราวหน้าจำนำมาตอบคำถามอีกครั้งหนึ่ง และคาดว่าสถานการณ์ covid ก็ยังไม่จบโดยเร็ว จะต้องมีมาตรการภาครัฐออกมาอีกมากมาย ก็คอยติดตามกันต่อไปนะครับเพื่อป้องกัน และเพื่อรักษาสิทธิ์ของตัวเองไม่ว่าจะเป็น นายจ้าง หรือลูกจ้างก็ตาม