อัยการสั่งไม่ฟ้องคดี ผู้ต้องหารอด แต่อัยการติดคุก

เป็นข่าวที่น่าสนใจ และค้านสายตาประชาชน เกี่ยวกับคดี ของ    “ บอส อยู่วิทยา”  จนเกิดกระแส  #    คุกมีไว้ขังเฉพาะคนจน #

คดีในทำนองนี้ ได้เคยเกิดขึ้นมาแล้ว   โดยผู้ต้องหาในคดีดังกล่าว เป็นคนใหญ่คนโต เช่นกัน โดย คนหนึ่งเป็นถึงเจ้าของ และอีกคนบรรณาธิการ หนังสือพิมพ์ ใสนคดีดังกล่าว ถูกกล่าวหาว่า  “กระทำความผิดฐานหมิ่นประมาทโดยการโฆษณา”   

ข้อเท็จจริงในคดีดังกล่าว  ผู้ต้องหาทั้งสองถูกกล่าวหาว่า  มีการลงข่าวในหนังสือพิมพ์   โดยมีข้อความ หมิ่นประมาท  ผู้เสียหายจึงได้แจ้งความร้องทุกข์ ต่อเจ้าพนักงานสอบสวน เพื่อเอาผิดกับเจ้าของหนังสือพิมพ์ และบรรณาธิการ   ซึ่งในชั้นพนักงานสอบสวนมีความเห็นสั่งฟ้อง แต่เมื่อสำนวนถึงมืออัยการ กลับมีสั่งไม่ฟ้องเจ้าของหนังสือพิมพ์ และบรรณาธิการ  

ผู้เสียหายเห็นว่า  คำสั่งของอัยการน่าจะไม่ชอบด้วยกฎหมาย และเป็นการช่วยเหลือผู้ต้องหาทั้งสองไม่ให้ต้องรับผิด รับโทษตามกฎหมาย  ผู้เสียหายจึงได้ฟ้อง พนักงานอัยการให้ตกเป็นจำเลย “ ในข้อหาความผิด เกี่ยวกับการเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่มิชอบ   และความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ในการยุติธรรม ซึ่งมีโทษจำคุกสูงสุดถึง ๑๐  ปี “

ในคดีดังกล่าว ได้มีการต่อสู้กันถึงศาลฎีกา ผลปรากฏว่า   “  อัยการติดคุก “ ซึ่งในเนื้อหาของคำพิพากษาศาลฎีกา ในส่วนที่เป็นการกระทำผิดของพนักงานอัยการ ได้เขียนไว้อย่างน่าสนใจว่า  “จำเลยซึ่งเป็นพนักงานอัยการมีคำสั่งไม่ฟ้อง…ก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ เป็นการใช้ดุลพินิจที่มิได้อยู่บนรากฐานของความสมเหตุสมผล แต่เป็นการใช้ดุลพินิจตามอำเภอใจ จึงเกินล้ำออกนอกขอบเขตของความชอบด้วยกฎหมาย และในฐานะที่จำเลยเป็นข้าราชการอัยการชั้นสูง จำเลยย่อมทราบดีถึงเกณฑ์วินิจฉัยมูลความผิดของพนักงานอัยการ การใช้ดุลพินิจผิดกฎหมายในกรณีนี้ จำเลยเห็นได้อยู่ในตัวแล้วว่าเป็นการมิชอบ และมีเจตนาเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ซึ่งเป็นผู้เสียหาย อีกทั้งเพื่อจะช่วย… มิให้ต้องโทษจากการกระทำความผิดของตนอีกด้วย จำเลยจึงมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 157 และมาตรา 200 วรรคหนึ่ง.”

จากคำพิพากษาของศาลฎีกาคดีนี้ จึงได้ข้อสรุปว่า หากผู้เสีย หรือแม้แต้ผุ้ต้องหา เห็นว่า การสั่งสำนวนของ พนักงานสอบสวน และพนักงานอัยการ เห็นว่า ไม่ถูกต้องไม่เป็นไปตามกฎหมาย ก็สามารถฟ้องร้องเอาผิด กับพนักงานสอบสวน และพนักงานอัยการ ได้

ท่านใดที่สนใจ สามารถไปอ่านต่อได้ ตามคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3509/2549

Facebook
Twitter
Email
WhatsApp