เจ้าหนี้ให้ลูกหนี้หาบุคคลภายนอกมาทำสัญญายอมร่วมรับผิดอย่างอย่างลูกหนี้ร่วม แทนที่จะให้ทำสัญญาค้ำประกันผล คือ อาจเป็นโมฆะ

ผู้ค้ำประกันเป็นเพียงลูกหนี้ชั้นสอง แต่กฎหมายค้ำประกันเดิม ไม่มีข้อห้ามที่จะตกลงให้ผู้ค้ำประกันต้องร่วมรับผิดอย่างลูกหนี้ชั้นต้นเจ้าหนี้จึงมักระบุในสัญญาค้ำประกันให้ค้ำประกันรับผิดอย่างลูกหนี้ชั้นต้นโดยการระบุไว้ในสัญญาให้ผู้ค้ำประกันรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม ข้อสัญญาดังกล่าวส่งผลให้ผู้ค้ำประกันซึ่งเป็นเพียงบุคคลภายนอกที่ยอมผูกพันตนต่อเจ้าหนี้ในการที่จะชำระหนี้แทนลูกหนี้เท่านั้น แต่ต้องรับผิดเป็นลูกหนี้ชั้นต้นเสียเอง หลายรายต้องเป็นผู้ถูกฟ้องล้มละลายในหนี้สินที่ผู้อื่นเป็นผู้ก่อขึ้น

ดังนั้น เพื่อสร้างความเป็นธรรม ให้แก่ผู้ค้ำประกัน จึงจำเป็นต้องตรา พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ฉบับที่ 20 พ.ศ. 2557 บัญญัติมาตรา 681 / 1   “  ว่า ข้อตกลงใด ที่กำหนดให้ผู้ค้ำประกันต้องรับผิดอย่างเดียวกับลูกหนี้ร่วมหรือในฐานะเป็นลูกหนี้ร่วม ข้อตกลงนั้นเป็นโมฆะ ซึ่งบังคับใช้กับสัญญาค้ำประกันที่ได้ทำขึ้นตั้งแต่วันที่  12 กุมภาพันธ์2558 อันเป็นวันที่พระราชบัญญัติ แก้ไขเพิ่มเติมดังกล่าวมีผลใช้บังคับ

ดังนั้น สัญญาที่เจ้าหนี้ทำกับผู้ค้ำประกัน หลังกฎหมายใหม่มีผลใช้บังคับแล้ว จึงไม่อาจตกลงให้ผู้ค้ำประกันรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมได้ เพราะจะเป็นการขัดกับกฎหมายที่แก้ไขใหม่ จึงเกิดการทำสัญญาแบบใหม่ขึ้น ไม่เรียกว่าสัญญาค้ำประกัน แต่เรียกว่าสัญญายินยอมร่วมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม ซึ่งมีใช้กันบ้างแล้วในธุรกิจให้เช่าซื้อรถยนต์ โดยผู้ประกอบการบางราย ให้ผู้เช่าซื้อลงนามในสัญญาเช่าซื้อ และให้บุคคลภายนอกมาลงนามในสัญญายินยอมร่วมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม

หากต่อมาผู้เช่าซื้อผิดนัดตามสัญญาเช่าซื้อ เป็นเหตุให้เจ้าหนี้ผู้ให้เช่าซื้อมาฟ้องผู้เช่าซื้อ ให้รับผิดตามสัญญาเช่าซื้อ และฟ้อง บุคคลภายนอกให้ร่วมรับผิดตามสัญญายินยอมร่วมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมนั้น ในส่วนที่ฟ้องผู้เช่าซื้อหากผู้เช่าซื้อผิดสัญญาจริง ผู้ให้เช่าซื้อย่อมฟ้องบังคับได้ตามสิทธิในสัญญาและสิทธิตามกฎหมายได้อยู่แล้ว

แต่ในส่วนที่ฟ้องบุคคลภายนอกให้ต้องร่วมรับผิดตามสัญญายินยอมร่วมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมนั้น ขณะนี้ยังไม่ปรากฏมีคำพิพากษาของศาลฎีกา

แต่ด้วยความเห็น ส่วนตัว  สัญญายินยอมรับผิดร่วมกับจำเลยที่1 ผู้เช่าซื้ออย่างลูกหนี้ร่วม ทำขึ้นเพื่อหลีกเลี่ยงการบังคับใช้บทบัญญัติค้ำประกันมาตรา 681 / 1      ที่แก้ไขใหม่ ย่อมตกเป็นโมฆะ คดีในส่วนของจำเลยที่  2  จึงต้องพิพากษาให้ยกฟ้อง

Facebook
Twitter
Email
WhatsApp