
เมื่อลูกหนี้ชั้นต้นผิดนัดแล้วเจ้าหนี้จะเรียกให้ผู้ค้ำประกันรับผิดชำระหนี้ในทันทีไม่ได้ ต้องมีหนังสือบอกกล่าวแจ้งถึงการผิดนัดของลูกหนี้ไปยังผู้ค้ำประกันก่อนภายใน 60 วัน นับแต่วันที่ลูกหนี้ผิดนัด
ซึ่งในการบอกกล่าวไปยังผู้ค้ำประกันนั้น กฎหมายไม่ได้กำหนดรูปแบบข้อความของหนังสือบอกกล่าวไว้แต่อย่างใดเพียงตามเจตนารมณ์ต้องการให้ผู้ค้ำประกันทราบว่าลูกหนี้ผิดแล้ว
มาตรา 686 วรรคหนึ่ง แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ไม่ได้กำหนดรูปแบบข้อความของหนังสือบอกกล่าวไว้อย่างชัดเจน เพียงแต่ตามเจตนารมณ์ของกฎหมายต้องการให้ผู้ค้ำประกันทราบถึงข้อเท็จจริงว่าลูกหนี้ผิดนัดแล้ว เพื่อผู้ค้ำประกันจะได้ใช้สิทธิเข้าชำระหนี้แทนลูกหนี้เพื่อลดภาระหนี้ การตีความในหนังสือบอกกล่าวจึงไม่จำต้องยึดถือรูปแบบที่เคร่งครัด เมื่อเนื้อความระบุว่า จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกหนี้ชั้นต้นมียอดหนี้จำนวนเงินค้างชำระยังไม่ได้ชำระหนี้ ขอให้ไปชำระหนี้ ย่อมถือได้ว่าเป็นหนังสือบอกกล่าวซึ่งมีข้อความที่แจ้งว่าลูกหนี้ผิดนัดชำระหนี้ เข้าลักษณะเป็นหนังสือบอกกล่าวตามความมุ่งหมายของมาตรา 686 วรรคหนึ่งแล้ว แต่ผู้ค้ำประกันได้รับหนังสือบอกกล่าวจากโจทก์หลังจากลูกหนี้ชั้นต้นผิดนัดแล้วเกิน 60 วัน จำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกันจึงหลุดพ้นจากความรับผิดใน ดอกเบี้ยและค่าสินไหมทดแทน ตลอดจนค่าภาระติดพันอันเป็นอุปกรณ์แห่งหนี้รายนั้นบรรดาที่เกิดขึ้นภายหลังเมื่อพ้นกำหนดเวลาแล้วตาม มาตรา 686 วรรคสอง โจทก์คงเรียกให้จำเลยที่ 2 ชำระต้นเงินและดอกเบี้ยที่คิดได้เพียง 60 วัน นับแต่วันที่จำเลยที่ 1 ผิดนัดเท่านั้น ( ฎีกาที่3847/2562)
หมายเหตุ แต่ถ้าไม่มีการบอกกล่าวจะไม่มีอำนาจฟ้องเลย