ในกรณีหมาจรจัดกัดคนใครจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบ

ในกรณีหมาจรจัดกัดคนใครจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบ ระหว่าง

คนที่ให้อาหาร เป็นครั้งคราวด้วยความเมตตา⁉️

คนที่ให้อาหารหมา เป็นประจำ ⁉️

หรือเทศบาล / อบต / กรมปศุสัตว์

ศาลปกครองสูงสุดวินิจฉัยว่า

หมาจรจัด #ที่คนให้อาหารเป็นครั้งคราว เป็นบางครั้งบางโอกาส ด้วยความเมตตา #รวมถึงคนที่ให้อาหารประจำ แต่ไม่ใช่ผู้รับเลี้ยงรับผิดชอบชีวิต ของสุนัขจรจัด #ไม่ถือว่าเป็นเจ้าของสุนัขจรจัด

มี #คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ. 764/2556  ที่อธิบายในเรื่องนี้ว่า

การให้คำนิยามความหมายของคำว่า “เจ้าของสุนัข” หมายความรวมถึง “ผู้ให้อาหารสุนัขเป็นประจำด้วย” นั้น

“มีผลทำให้ประชาชนที่เพียงแต่ให้อาหารแก่สุนัขจรจัดเป็นประจำด้วยความเมตตา ต้องมีภาระหน้าที่ในการพาสุนัขจรจัดไปฝังไมโครชิปและจดทะเบียนสุนัข มิเช่นนั้น อาจทำให้บุคคลนั้นกระทำผิดกฎหมาย ทั้งที่หน้าที่ในการจัดการ ควบคุม ดูแลสุนัขจรจัด #เป็นหน้าที่ของท้องถิ่น แต่ท้องถิ่นกลับผลักภาระดังกล่าวมาให้กับประชาชน

ดังนั้น การให้บทนิยามดังกล่าว ที่ให้หมายความรวมถึง “ผู้ให้อาหารสุนัขเป็นประจำด้วย” จึงเป็นข้อบัญญัติที่

1. สร้างขั้นตอนโดยไม่จำเป็น

2. สร้างภาระให้เกิดกับประชาชนเกินสมควร

3. ไม่ชอบด้วยกฎหมาย

ศาลปกครองสูงสุดจึงพิพากษาให้เพิกถอนข้อบัญญัติ ฯ ข้อ 5 เฉพาะที่ให้ความหมาย “เจ้าของสุนัข” ว่า ผู้ให้อาหารสุนัขเป็นประจำด้วย”

#แต่ถ้าหมาไม่มีเจ้าของกัดคน #ใครต้องรับผิดชอบ

เมื่อหมาจรจัดไม่มีเจ้าของ และจะไปบังคับคนที่เลี้ยงประจำมารับผิดชอบก็ไม่ได้

เทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล  หรือกรมปศุสัตว์ #ต้องเป็นผู้รับผิดชอบ

#คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดคดีที่

อ.1751/2559

ได้วินิจฉัยไว้ว่า #เป็นหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตำบล #หรือกรมปศุสัตว์ ที่จะต้องรับผิดชอบในการจัดการดูแลสุนัขจรจัดซึ่งสุนัขเป็นสัตว์ควบคุมตามพระราชบัญญัติโรคพิษสุนัขบ้า พ.ศ. 2535 เมื่อสุนัขจรจัดไปทำลายทรัพย์สิน หรือรุมกัดผู้อื่น ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น

องค์การบริหารส่วนตำบล หรือกรมปศุสัตว์จึงต้องรับผิดชอบต่อความเสียหายนั้น ตามมาตรา 67 และ มาตรา 68 แห่ง พ.ร.บ.สภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ.2537 ให้ราชการผู้ถูกฟ้องคดีต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้กับเอกชนผู้ฟ้องคดีนั้น

Facebook
Twitter
Email
WhatsApp