
มีข้อสงสัยและมีคำถามในโลกออนไลน์จำนวนมากกรณีการไม่ใส่แมส ในที่สาธารณะว่ามีการจับปรับได้จริงหรือไม่และตามกฎหมายใดทาง LAWRAI จึงได้ไปค้นหาคำตอบมาให้ได้ทราบกัน ด้วยได้มีประกาศของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ให้ประชาชนทุกคนใส่แมสในที่สาธารณะ ประกาศดังกล่าวถือว่าเป็น ” กฎ “ มีสภาพบังคับเป็นกฎหมายหากใครฝ่าฝืนก็มีความผิดตามกฎหมายซึ่งกฎหมายดังกล่าวได้กำหนดโทษปรับซึ่งเป็นโทษทางอาญาโดยการปรับ จะเป็นอำนาจของคณะกรรมการควบคุมโรคติดต่อแห่งชาติ หรือผู้ที่คณะกรรมการมอบหมายให้มีอำนาจในการเปรียบเทียบได้ การที่ตำรวจได้เปรียบเทียบปรับนั้นอาจจะเป็นไปได้ว่าเป็นผู้ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการให้มีอำนาจเปรียบเทียบปรับได้ตามกฎหมาย “ ถ้าท่านใดถูกจับกุมหรือเปรียบเทียบปรับก็สามารถขอดูหลักฐานการมอบหมายได้ซึ่งเป็น”สิทธิ”ของผู้ต้องหา
สรุป จับปรับได้จริงนะครับ แต่อย่างไรก็ดีนอกจากจะไม่ถูกจับปรับแล้ว เพื่อความปลอดภัยและป้องกันการติดต่อของโรคติดต่อใส่แมสดีกว่านะครับ !!!
ถ้ามีท่านใดสนใจเพิ่มเติมให้ไปดูรายละเอียดตามกฎหมายนี้ได้เลย
1. พระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ.2558
2. ระเบียบคณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ ว่าด้วยหลักเกณฑ์การเปรียบเทียบ พ.ศ.2563
3. คำสั่งกรมควบคุมโรค ที่ 1746/2563 เรื่องการมอบหมายให้มีอำนาจเปรียบเทียบความผิดตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ.2558
พระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ.2558
มาตรา ๓๔ เพื่อประโยชน์ในการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อ เมื่อเกิดโรคติดต่ออันตรายหรือโรคระบาดหรือมีเหตุสงสัยว่าได้เกิดโรคติดต่ออันตรายหรือโรคระบาดในเขตพื้นที่ใด ให้เจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อในพื้นที่นั้นมีอำนาจที่จะดำเนินการเองหรือออกคำสั่งเป็นหนังสือให้ผู้ใดดำเนินการ ดังตอไปนี้
(๑) ให้ผู้ที่เป็นหรือมีเหตุอันควรสงสัยว่าเป็นโรคติดต่ออันตรายหรือโรคระบาด หรือผู้ที่เป็น
ผู้สัมผัสโรคหรือเป็นพาหะ มารับการตรวจหรือรักษา หรือรับการชันสูตรทางการแพทย์ และเพื่อความปลอดภัยอาจดำเนินการโดยการแยกกัก กักกัน หรือคุมไว้สังเกต ณ สถานที่ซึ่งเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อกำหนดจนกว่าจะได้รับการตรวจและการชันสูตรทางการแพทย์ว่าพ้นระยะติดต่อของโรคหรือสิ้นสุดเหตุอันควรสงสัยทั้งนี้ หากเป็นสัตว์ให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองสัตว์เป็นผู้นำสัตว์มารับการตรวจหรือรักษา หรือรับการชันสูตรทางการแพทย์
(๒) ให้ผู้ที่มีความเสี่ยงที่จะติดโรคได้รับการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค ตามวัน เวลา และสถานที่ซึ่งเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อกำหนดเพื่อมิให้โรคติดต่ออันตรายหรือโรคระบาดแพร่ออกไป ทั้งนี้หากเป็นสัตว์ให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองสัตว์เป็นผู้นำสัตว์มารับการป้องกันโรค
(๓) ให้นำศพหรือซากสัตว์ซึ่งตายหรือมีเหตุอันควรสงสัยว่าตายด้วยโรคติดต่ออันตรายหรือโรคระบาดไปรับการตรวจ หรือจัดการทางการแพทย์ หรือจัดการด้วยประการอื่นใด เพื่อป้องกันการแพร่ของโรค
(๕) ให้เจ้าของ ผู้ครอบครอง หรือผู้พักอาศัยในบ้าน โรงเรือน สถานที่ หรือพาหนะที่มีโรคติดต่ออันตรายหรือโรคระบาดเกิดขึ้น ดำเนินการเพื่อการป้องกันการแพร่ของโรคด้วยการกำจัดสัตว์แมลง หรือตัวอ่อนของแมลงที่เป็นสาเหตุของการเกิดโรคติดต่ออันตรายหรือโรคระบาด
(๖) ห้ามผู้ใดกระทำการหรือดำเนินการใด ๆ ซึ่งอาจก่อให้เกิดสภาวะที่ไม่ถูกสุขลักษณะซึ่งอาจเป็นเหตุให้โรคติดต่ออันตรายหรือโรคระบาดแพร่ออกไป
(๗) ห้ามผู้ใดเข้าไปหรือออกจากที่เอกเทศ เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อ
(๘) เข้าไปในบ้าน โรงเรือน สถานที่ หรือพาหนะที่มีหรือสงสัยว่ามีโรคติดต่ออันตรายหรือโรคระบาดเกิดขึ้นเพื่อเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมมิให้มีการแพร่ของโรค
ในการดำเนินการตามวรรคหนึ่ง เจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อต้องทำการสอบสวนโรคและหากพบว่ามีโรคติดต่ออันตรายหรือโรคระบาดเกิดขึ้นในเขตพื้นที่ใด ให้เจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อแจ้งต่อ
คณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดหรือคณะกรรมการโรคติดต่อกรุงเทพมหานคร แล้วแต่กรณีและรายงานข้อมูลนั้นให้กรมควบคุมโรคทราบโดยเร็ว
หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการดำเนินการหรือออกคำสั่งตามวรรคหนึ่ง และการสอบสวนโรคตามวรรคสอง ให้เป็นไปตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการ
มาตรา ๕๑ ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อตามมาตรา ๓๔ (๑) (๒) (๕) หรือ (๖) มาตรา ๓๙ (๑) (๒) (๓) หรือ (๕) มาตรา ๔๐ (๕) หรือไม่อำนวยความสะดวกแก่เจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อตามมาตรา ๓๙ (๔) ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองหมื่นบาท