โอนเงินมาผิดบัญชี ไม่คืนเงินได้หรือไม่

การโอนเงินไปผิดบัญชีธนาคาร หากเจ้าของบัญชีปลายทางที่ได้รับโอนเงินไปได้ปฏิเสธว่าไม่รู้ไม่เห็นเรื่องเงินจำนวนดังกล่าวและไม่ยอมคืนเงินให้ กรณีจึงทำให้เกิดประเด็นข้อสงสัยทางกฎหมายว่า ผู้ที่ได้รับโอนเงินต้องคืนเงินให้กับผู้โอนหรือไม่ หากไม่คืนจะมีความผิดตามกฎหมายอย่างไร ประเด็นดังกล่าวมีข้อกฎหมายที่ต้องพิจารณาดังต่อไปนี้ ลาภมิควรได้ ตามความแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ หมายถึง การที่บุคคลใดได้มาซึ่งทรัพย์สิ่งใดโดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายและเป็นทางให้บุคคลอีกคนหนึ่งเสียเปรียบ การได้ทรัพย์มาจากผู้อื่นนั้นไม่จำกัดวิธีการ เช่น ได้รับโอนทรัพย์มา ส่วนคำว่า การได้ทรัพย์มาโดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ หมายถึง การได้ทรัพย์มาโดยไม่มีสัญญาหรือฐานทางกฎหมายรองรับ รวมถึงสัญญาที่ทำขึ้นแล้วเกิดเหตุบางอย่างจนสัญญานั้นโมฆะหรือเสียเปล่ามาตั้งแต่ต้น เสมือนไม่มีนิติกรรมนั้นเกิดขึ้นมาเลย เมื่อปรากฏว่าการรับทรัพย์มาแล้วทำให้บุคคลอื่นเสียเปรียบหรือเสียทรัพย์โดยที่ไม่สมควร จึงเป็นนิติเหตุฐานลาภมิควรได้ ผลของลาภมิควรได้ ทำให้ผู้ที่รับทรัพย์นั้นมาจะต้องคืนทรัพย์นั้นให้แก่เจ้าของ อย่างไรก็ตาม แม้ว่าบุคคลได้ทรัพย์มาโดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้แต่กฎหมายบัญญัติให้ไม่ต้องคืนทรัพย์นั้น เช่น การชำระหนี้ตามอำเภอใจ การชำระหนี้โดยฝ่าฝืนกฎหมายหรือศีลธรรมอันดี การชำระหนี้ที่ขาดอายุความแล้ว เป็นต้น ถ้าลาภมิควรได้ที่ได้รับไว้นั้นเป็นเงินจำนวนหนึ่ง ผู้รับก็ต้องคืนเงินเต็มจำนวน เว้นแต่เมื่อบุคคลได้รับไว้โดยสุจริต จึงต้องคืนลาภมิควรได้เพียงส่วนที่ยังมีอยู่ในขณะเมื่อเรียกคืน แต่หากบุคคลนั้นได้รับทรัพย์ไว้โดยสุจริต เช่น เชื่อว่าเป็นเงินที่ลูกค้าโอนมาเพื่อชำระค่าสินค้า จึงได้เบิกเงินจำนวนนั้นไว้ใช้เพราะเชื่อว่าเป็นกรรมสิทธิ์ของตน เช่นนี้ ก็ต้องใช้เงินคืนให้แก่เจ้าของเช่นกัน…


โพสต์ข้อมูลเท็จ ระวังโทษจำคุก!

กรณีปรากฏเป็นกระแสข่าวว่านักธุรกิจชาวจีนรายหนึ่งซึ่งได้ถูกจับกุมในฐานความผิด เกี่ยวกับยาเสพติด ภายหลังมีคนออกมาโพสต์บิดเบือนข้อมูลถึงการได้มาซึ่งสัญชาติไทยของนักธุรกิจรายนั้น กรณีจึงทำให้เกิดข้อสงสัยว่า การโพสต์บิดเบือนข้อมูลมีความผิดตามกฎหมายอย่างไรหรือไม่ ประเด็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องมีดังต่อไปนี้ พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2560 มาตรา 14(1) วางหลักว่า ผู้ใดโดยทุจริต หรือโดยหลอกลวง นําเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่บิดเบือนหรือปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ประชาชน อันมิใช่การกระทําความผิดฐานหมิ่นประมาทตามประมวลกฎหมายอาญา จากหลักกฎหมายดังกล่าวผู้นำเข้าข้อมูลสู่ระบบคอมพิวเตอร์จะมีความผิดก็ต่อเมื่อข้อมูลนั้นเป็น ความเท็จ หรือเป็นข้อมูลปลอม กล่าวคือ ข้อมูลเท็จ หมายถึง ข้อมูลที่ไม่ใช่ความจริง หรือไม่ตรงกับความจริง ซึ่งจะแตกต่างจากคำว่า ข้อมูลปลอม เพราะการจะเป็นข้อมูลปลอมได้ แสดงว่าความจริงแล้ว ไม่มีข้อมูลนั้นอยู่เลย แต่กลับสร้างข้อมูลขึ้นมาเพื่อให้เข้าใจผิดว่าเป็นข้อมูลจริง นอกจากข้อมูลนั้นจะต้องเป็นข้อมูลเท็จแล้ว จะต้องได้ความอีกว่าผู้กระทำได้กระทำลงไปโดยมีเจตนาพิเศษ คือ ทุจริต หรือหลอกลวง คำว่าโดยทุจริต หากอ้างอิงจากคำนิยามตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 2…


ขายของออนไลน์ในเวลางาน เสี่ยงโดนไล่ออก

เนื่องจากปัจจุบันการติดต่อสื่อสารผ่านทางช่องทางออนไลน์มีความสะดวก หลายๆคนนอกจากจะมีธุรกิจผ่านทางหน้าร้านทั่วไปแล้ว ก็ยังมีธุรกิจผ่านช่องทางโซเชียลมีเดีย ไม่ว่าจะเป็น เฟสบุ๊ค อินสตาแกรม หรือช่องทางอื่นๆ และด้วยภาวะเศรษฐกิจข้าวยาก หมากแพงเช่นนี้ หลายๆคนซึ่งทำงานประจำอยู่แล้วก็ยังหาอาชีเสริมโดยการประกอบธุรกิจผ่านทางช่องทางออนไลน์ควบคู่ไปด้วย อย่างไรก็ตามมีคนจำนวนไม่น้อยเลยที่ทำอาชีพเสริมในเวลาทำงานประจำจนกระทบกับงานหลัก ซึ่งอาจจะเป็นการกระทำสิ่งผิดกฎหมายโดยไม่รู้ตัว ประเด็นดังกล่าวมีข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องดังต่อไปนี้ กฎหมายแรงงานวางหลักว่า นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างซึ่งถูกเลิกจ้างและได้ทำงานติดต่อกันครบตั้งแต่ 120 วันขึ้นไป ซึ่งค่าชดเชยจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับว่าทำงานติดต่อกันมานานเท่าไหร่แล้ว โดยการเลิกจ้าง หมายถึง การกระทำใดๆที่นายจ้างไม่ให้ลูกจ้างทำงานต่อไปและไม่จ่ายค่าจ้างให้ ไม่ว่าจะเป็นเพราะเหตุสิ้นสุดสัญญาจ้าง หรือกรณีที่ลูกจ้างไม่ได้ทำงานและไม่ได้รับค่าจ้างเพราะเหตุที่นายจ้างไม่สามารถดำเนินกิจการต่อไปได้ รวมถึงเหตุอื่นๆ เช่น นายจ้างโอนลูกจ้างไปเป็นลูกจ้างของนายจ้างใหม่โดยที่ลูกจ้างไม่ยินยอม นายจ้างไม่ให้ลูกจ้างเข้าที่ทำงาน แล้วหาคนอื่นมาทำงานแทน นายจ้างเป็นฝ่ายบอกเลิกสัญญาจ้างงานต่อลูกจ้าง รวมถึงการเกษีณอายุงานตามที่นายจ้างและลูกจ้างตกลงกัน ให้ถือว่าเป็นการเลิกจ้างเช่นกัน อย่างไรก็ตามแม้นายจ้างจะเป็นฝ่ายเลิกจ้างก็ตาม แต่นายจ้างก็ไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย หากเข้าข้อยกเว้น 3 กรณีดังต่อไปนี้ 1.ลูกจ้างทำงานติดต่อกันมายังไม่ครบ 120 วัน ย่อมไม่ได้รับค่าชดเชย…


สามีภรรยาถูกหวย ต้องแบ่งกันหรือไม่?

กรณีปรากฏเป็นกระแสข่าวดังว่าคู่สามีภรรยาถูกรางวัลสลากกินแบ่งรัฐบาล ภายหลังภรรยาก็ได้หอบเอาเงินหนีไป จึงเกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์อย่างมากมาย โดยเฉพาะเรื่องประเด็นข้อกฎหมายว่าสรุปสามีหรือภรรยา หรือทั้งสองคน ที่เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในเงินที่ได้จากการถูกรางวัลกันแน่ ประเด็นดังกล่าวมีข้อกฎหมายที่ต้องพิจารณาดังต่อไปนี้เมื่อชายหญิงได้จดทะเบียนสมรสกันอย่างถูกต้องตามกฎหมาย จะทำให้เกิดเป็นระบบทรัพย์สินระหว่างสามีภรรยา แบ่งเป็นสินสมรสและสินส่วนตัวสินส่วนตัว ได้แก่ทรัพย์สสินดังต่อไปนี้ 1.ทรัพย์สินที่สามีหรือภรรยาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีอยู่ก่อนสมรส2.ทรัพย์สินที่เป็นเครื่องใช้สอยส่วนตัว เครื่องแต่งกาย เครื่องมือเครื่องใช้ที่จำเป็นสำหรับการประกอบอาชีพของคู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง3.ทรัพย์สินที่ได้มาระหว่างสมรสโดยการรับมรดก หรือการให้โดยเสน่หา และทรัพย์สินที่เป็นของหมั้นสินสมรส ได้แก่ทรัพย์สินดังต่อไปนี้1.ทรัพย์สินที่คู่สมรสได้มาระหว่างสมรส2.ทรัพย์สินที่คู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้มาระหว่างสมรส โดยพินัยกรรม หรือโดยการให้เป็นนหังสือ แต่ต้องระบุไว้ด้วยว่าให้เป็นสินสมรส3.ทรัพย์สินที่เป็นดอกผลของสินส่วนตัว ไม่ว่าจะเป็นดอกผลโดยนิตินัย หรือดอกผลธรรมดา เช่น ก่อนสมรสมีลูกสุนัข 2 ตัว หลังสมรสแล้วสุนัขคลอดลูก 5 ตัว เช่นนี้ ลูกสุนัข 5 ตัว เป็นสินสมรส ส่วนสุนัข 2 ตัวที่มีก่อนสมรส เป็นสินส่วนตัว ประเด็นที่น่าสนใจคือ หากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งซื้อสลากกินแบ่งรัฐบาลก่อนสมรส แล้วปรากฏว่าภายหลังสมรสถูกรางวัล…


รู้หรือไม่ วันลาพักร้อน สะสมเป็นเงินได้ด้วยนะ

กฎหมายคุ้มครองแรงงาน มีวัตถุประสงค์เพื่อคุ้มครองลูกจ้างไม่ให้ถูกเอาเปรียบ มีเวลาพักผ่อนที่เหมาะสม มีความปลอดภัยขณะทํางาน มีสวัสดิการและได้รับค่าจ้างถูกต้องตามที่กฎหมายกําหนด และเพื่อให้การจ้างงาน การประกอบกิจการ และ ความสัมพันธ์ระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างเป็นไปโดยเหมาะสม ต่างฝ่ายต่างได้รับประโยชน์ตามสมควร ในการทำงานนั้น กฎหมายคุ้มครองแรงงานก็ได้มีการกำหนดกรอบระยะเวลาในการทำงานของลูกจ้างเอาไว้ เพื่อให้ลูกจ้างได้หยุดพักผ่อน ไม่ทำงานหักโหมเกินไปจนเกินขีดความสามารถของมนุษย์ โดยสามารถแบ่งแยกวันทำงานและวันหยุดได้ดังนี้ วันเวลาทำงานปกติ เวลาพัก วันหยุดประจำสัปดาห์ วันหยุดตามประเพณี และวันหยุดพักผ่อนประจำปี สำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปี หรือที่คนทั่วไปเรียกกันติดปากว่าวันลาพักร้อน เป็นวันที่กฎหมายกำหนดขึ้นให้ลูกจ้างหยุดพักผ่อนจากการทำงาน โดยเป็นหน้าที่ของนายจ้างที่จะจัดให้ลูกจ้างมีวันหยุดพักผ่อนประจำปี มีหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันมา มาแล้วครบหนึ่งปีมีสิทธิหยุดพักผ่อนประจำปีได้ปีหนึ่งไม่น้อยกว่า 6 วันทำงานโดยให้นายจ้างเป็นผู้กำหนดวันหยุดดังกล่าวให้แก่ลูกจ้างล่วงหน้าหรือกำหนดให้ตามที่นายจ้างและลูกจ้างตกลงกันก็ได้ จากหลักกฎหมายดังกล่าว นายจ้างเท่านั้นที่จะเป็นผู้กำหนดวันหยุดให้กับลูกจ้าง ทำได้ 2 วิธี คือ นายจ้างเป็นผู้ตัดสินใจกำหนดวันหยุดพักผ่อนประจำปีโดยฝ่ายเดียว หรืออีกวิธีคือให้ลูกจ้างเป็นผู้นำเสนอก่อนแล้วนายจ้างเป็นผู้อนุมัติ มีประเด็นข้อสงสัยว่า หากลูกจ้างไม่ได้แสดงความจำนงจะหยุดพักผ่อนประจำปี จะถือว่าลูกจ้างสละสิทธิหรือไม่…


สัญญาอยู่กินกัน 3 ผัวเมีย มีผลบังคับใช้ได้ด้วยหรือ?

กรณีปรากฏเป็นกระแส สาวหล่ออ้างว่าถูกคู่สามีภรรยาเจ้าของบริษัทใหญ่ซึ่งเป็นนายจ้าง บังคับให้ทำบันทึกข้อตกลงให้สาวหล่อยอมร่วมหลับนอนอยู่กินกันแบบสามีภรรยา 3 คน แลกกับการชดใช้หนี้ หากไม่ทำตามจะถูกฟ้องร้องเรียกเงิน 10 ล้านบาท กรณีจึงเกิดข้อสงสัยในประเด็นข้อกฎหมายว่าบันทึกข้อตกลงดังกล่าวมีผลบังคับใช้ได้หรือไม่ ข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องมีดังต่อไปนี้ นิติกรรม หมายถึง การใด ๆ ที่ได้ทำลงโดยชอบด้วยกฎหมายและด้วยใจสมัคร มุ่งโดยตรงต่อการผูกนิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่างบุคคล เพื่อจะก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวน หรือระงับซึ่งสิทธิ การพิจารณาว่านิติกรรมมีผลสมบูรณ์ ใช้บังคับตามกฎหมายได้ ก่อให้เกิดสิทธิ หน้าที่ต่อคู่กรณีที่ทำนิติกรรมหรือไม่นั้น นอกจะจะต้องมีองค์ประกอบครบตามข้างต้นแล้ว นิติกรรมนั้นก็จะต้องไม่มีข้อบกพร่องตามที่กฎหมายกำหนด แบ่งออกเป็น นิติกรรมที่ตกเป็นโมฆียะและนิติกรรมที่ตกเป็นโมฆะ นิติกรรมที่ตกเป็นโมฆียะ หมายถึง นิติกรรมที่ทำขึ้นแล้วมีผลสมบูรณ์ บังคับได้ตามกฎหมาย จนกว่าจะถูกบอกล้างซึ่งจะมีผลทำให้นิติกรรมเป็นโมฆะมาตั้งแต่เริ่มแรก หรืออาจให้สัตยาบันเพื่อรับรองนิติกรรมนั้นให้สมบูรณ์ตั้งแต่เริ่มแรกได้เช่นกัน ส่วนนิติกรรมที่ตกเป็นโมฆะ คือ นิติกรรมที่ทำลงไปแล้วเป็นการเสียเปล่า ไม่อามีผลใช้บังคับได้…


ทำสัญญาจองรถยนต์ แต่วันนัดรับถูกเลื่อน ยกเลิกสัญญาได้หรือไม่?

ในปัจจุบันมักมีปัญหาเกิดขึ้นเกี่ยวกับการจองรถยนต์อยู่บ่อยครั้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือกรณีที่ผู้บริโภคทำสัญญาจองรถกับผู้ประก อบธุรกิจและมีการวางเงินมัดจำ หรือที่เรียกกันว่า เงินจองรถ แต่ภายหลังกลับได้รับแจ้งจากทางผู้ประกอบการว่า วันนัดรับรถจะถูกเลื่อนออกไป กรณีจึงทำให้เกิดข้อสงสัยว่า ผู้บริโภคสารถยกเลิกสัญญาจองรถได้หรือไม่ และมีสิทธิได้รับเงินมัดจำคืนหรือไม่ ประเด็นดังกล่าวมีข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องคือ ประกาศคณะกรรมการว่าด้วยสัญญาเรื่อง ให้ธุรกิจการขายรถยนต์ที่มีการจองเป็นธุรกิจที่ควบคุมสัญญา พ.ศ. 2551 ประกาศดังกล่าวใช้บังคับกับ การประกอบกิจการขายรถยนต์โดยผู้ประกอบธุรกิจนำรถยนต์ออกขายโดยให้ผู้บริโภคทำการจองรถยนต์ ทำในลักษณะของสัญญาจองรถยนต์ ซึ่งหมายถึงข้อตกลงใด ๆ ที่ผู้บริโภคทำกับผู้ประกอบธุรกิจ เพื่อการจองซื้อรถยนต์ โดยผู้ประกอบธุรกิจได้รับเงินหรือรับสิ่งใดไว้เป็นมัดจำ และให้คำมั่นว่าจะส่งมอบรถยนต์ให้ผู้บริโภคตามเวลาที่กำหนดในสัญญา สัญญาจองรถยนต์ที่ผู้ประกอบธุรกิจทำกับผู้บริโภคต้องมีข้อความเป็นภาษาไทยที่สามารถเห็นและอ่านได้ และต้องใช้ข้อสัญญาที่มีสาระสำคัญและเงื่อนไข รายละเอียดเกี่ยวกับรถยนต์ครบถ้วน เช่น ยี่ห้อ รุ่น ราคา จำนวนเงินมัดจำ กำหนดเวลาที่คาดว่าจะส่งมอบรถยนต์ สาระสำคัญที่จะขาดไม่ได้ในสัญญาจองรถยนต์ก็คือ จะต้องมีเงื่อนไขว่า ผู้บริโภคมีสิทธิบอกเลิกสัญญาเมื่อผู้ประกอบธุรกิจกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้ -ปรับเปลี่ยนราคารถยนต์สูงขึ้น -ไม่ส่งมอบรถยนต์ให้ผู้บริโภคภายในระยะเวลาที่กำหนด -ไม่ส่งมอบรถยนต์ที่มี…


ซื้อรถมือสองมาจากเต็นท์ แต่ถูกเจ้าของมาทวงคืน จะทำยังไงดี?

จากกรณีปรากฏเป็นกระแสข่าวดังว่าสามีภรรยาคู่หนึ่งได้ซื้อรถมือสองจากเต็นท์ ใช้และผ่อนรถมาได้ 5 เดือน ก็ถูกตำรวจพร้อมเจ้าของเดิมเข้าแจ้งถึงบ้าน ว่าได้ซื้อรถที่ถูกขโมยมา ทั้งที่เจ้าตัวยืนยันว่าได้ซื้อมาถูกต้องตามกฎหมาย กรณีจึงทำให้เกิดข้อสงสัยว่าคู่สามีภรรยาจะต้องทำอย่างไรต่อไป ต้องคืนรถให้แก่เจ้าของที่มาตามทวงคืนหรือไม่ กรณีดังกล่าวมีข้อกฎหมายที่ต้องพิจารณาดังต่อไปนี้โดยหลักกฎหมายทั่วไปแล้ว การที่ผู้โอนจะสามารถโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินให้แก่ผู้รับโอนได้ ผู้โอนย่อมต้องมีกรรมสิทธิ์เสียก่อน จึงจะสามารถโอนกรรมสิทธิ์นั้นให้แก่ผู้รับโอน เช่นนี้หากผู้โอนไม่มีกรรมสิทธิ์ ย่อมไม่สามารถโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่ผู้รับโอนได้ และผู้รับโอนก็ไม่สามารถได้ไปซึ่งกรรมสิทธิ์ อย่างไรก็ตามแม้ว่าผู้รับโอนไม่มีสิทธิดีกว่าผู้โอน แต่ก็มีข้อยกเว้นของกฎหมายที่ให้ผู้รับโอนมีสิทธิดีกว่าผู้โอน กล่าวคือ แม้ผู้โอนจะไม่มีกรรมสิทธิ์ แต่กฎหมายได้ให้สิทธิแก่ผู้โอนสามารถที่จะมีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินนั้น ทำให้ผู้รับโอนมีสิทธิดีกว่าผู้โอน ตัวอย่างเช่น การได้ทรัพย์สินมาจากนิติกรรมที่เป็นโมฆียะและภายหลังได้ถูกบอกล้าง สิทธิที่ได้มาย่อมไม่เสียไป แต่ต้องเป็นการได้มาซึ่งทรัพย์สินนั้นโดยสุจริตและเสียค่าตอบแทน หรือในกรณีการได้ทรัพย์สินมาจากการขายทอดตลาดตามคำสั่งศาลโดยสุจริตก็เช่นกัน หากได้ชำระราคาครบถ้วนแล้ว ก็ย่อมได้รับความคุ้มครอง แม้จะยังไม่ได้จดทะเบียนตามกฎหมายก็ตาม สำหรับในกรณี ผู้ซื้อทรัพย์สินมาโดยสุจริตในการขายทอดตลาดหรือในท้องตลาด หรือจากพ่อค้าซึ่งขายของชนิดนั้น ไม่จำต้องคืนให้แก่เจ้าของแท้จริง เว้นแต่เจ้าของจะชดใช้ราคาที่ซื้อมา ก็เป็นข้อยกเว้นของหลักผู้รับโอนไม่มีสิทธิดีกว่าผู้โอนเช่นกัน โดยเป็นการขายทอดตลาดโดยบุคคลทั่วไป อันเป็นชุมชนการค้าที่มีสินค้าไว้เสนอขายแก่ประชาชนทั่วไปโดยปกติ ไม่ใช่เป็นการขายทอดตลาดตามคำสั่งศาล ความคุ้มครองทั้งสองกรณีแตกต่างกัน…


ผู้ป่วยจิตเวช กระทำผิดกฎหมายอาญา ไม่ต้องรับโทษจริงหรือ

กรณีปรากฏเป็นกระแสข่าวดังว่ามีชายรายหนึ่งได้บุกเข้าทำร้ายนักเคลื่อนไหวทางการเมืองชื่อดังในงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ และได้ตะโกนว่ามีระเบิด ทำให้ผู้คนในงานตกใจกลัวเป็นอย่างมาก เมื่อย้อนดูประวัติที่ผ่านมาพบว่าเคยกระทำผิดในลักษณะการก่อความวุ่นวายใยสังคมมาแล้วหลายครั้ง และพบว่าชายคนดังกล่าวมีประวัติเป็นผู้ป่วยอารมณ์แปรปรวน จึงทำให้เกิดข้อสงสัยตามมาว่าบุคคลที่มีอาการทางจิตแล้วยังมากระทำผิดกฎหมายอาญาซ้ำซาก ไม่มีความผิดเลยหรือ ประเด็นข้อกฎหมายที่ต้องพิจารณามีดังต่อไปนี้ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ได้บัญญัติรับรองสิทธิในกระบวนการยุติธรรม ว่าบุคคลไม่ต้องรับโทษทางอาญา เว้นแต่ได้กระทำการอันกฎหมายที่ใช้อยู่ในเวลาที่กระทำนั้นบัญญัติเป็นความผิดและกำหนดโทษไว้ สำหรับคำว่า การกระทำ นั้น หมายถึง การกระทำโดยเจตนา ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 59 วรรคสอง คือ ผู้กระทำได้กระทำโดยรู้สำนึกในการกระทำ การพิจารณาว่าการกระทำของผู้ป่วยจิตเวชหรือบุคคลวิกลจริต ถือว่ามีการกระทำเช่นบุคคลธรรมดาทั่วไปหรือไม่นั้น ต้องพิจารณาว่าผู้นั้นได้กระทำความผิด ในขณะไม่สามารถรู้ผิดชอบ หรือไม่สามารถบังคับตนเองได้เพราะมีจิตบกพร่อง โรคจิตหรือจิตฟั่นเฟือน หรือไม่ ซึ่งหากเป็นเช่นนั้นผู้กระทำก็ไม่ต้องรับโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำลงไป เช่น โรคจิตเภท โรคปัญญาอ่อน หรือโรคสมองเสื่อม ในทางกลับกัน ถ้าผู้กระทำความผิดยังสามารถรู้ผิดชอบอยู่บ้าง หรือยังสามารถบังคับตนเองได้บ้าง ผู้นั้นต้องรับโทษสำหรับความผิด แต่ศาลจะลงโทษน้อยกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นเพียงใดก็ได้…


บริจาคเงินให้คนที่ทำร้ายผู้อื่น ผิดหรือไม่

กรณีปรากฏเป็นกระแสข่าวดังว่ามีชายผู้หนึ่ง ได้เข้าไปชกต่อย ทำร้ายเลขาธิการของสมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย ขณะเดินทางเข้ายื่นหนังสือร้องเรียนเอาผิดศิลปินซึ่งได้พูดวิจารณ์การทำงานของนายกรัฐมนตรี ซึ่งหลังจากที่ได้มีคลิปและข่าวดังกล่าวออกไป มีชาวโลกออนไลน์เข้ามาแสดงความคิดเห็นเป็นจำนวนมาก พร้อมกับขอเลขที่บัญชี เพื่อขอบริจาคช่วยเหลือค่าประกันตัว จึงทำให้เกิดข้อสงสัยว่าผู้ที่โอนเงินช่วยเหลือชายผู้นั้น มีความผิดหรือไม่ การที่ชายคนนั้นเข้าไปชกต่อยเลขาธิการฯ เข้าข่ายมีความผิดฐาน ใช้กำลังทำร้ายผู้อื่นโดยไม่ถึงกับเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือปรับไม่เกิน 1,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ หรืออาจจะมีความผิดฐานทำร้ายร่างกายผู้อื่น หรือฐานทำร้ายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้ผู้ถูกกระทำร้ายรับอันตรายสาหัส แล้วแต่กรณี ขึ้นอยู่กับเจตนาในการกระทำ พฤติการณ์ประกอบการกระทำ และผลของการกระทำ โดยต้องนำมาพิจารณาประกอบกัน ส่วนผู้ที่โอนเงินบริจาคเป็นค่าประกันตัวให้กับชายผู้นั้น ภายหลังการเข้าไปทำร้าย จะมีความผิดตามกฎหมายหรือไม่อย่างไรนั้น ต้องพิจารณาข้อกฎหมายดังต่อไปนี้ ตัวการ เกิดขึ้นในกรณีเป็นการกระทำความผิดโดยเจตนา โดยมีบุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป ได้มีเจตนาร่วมกันและกระทำร่วมกัน ในขณะกระทำความผิด การมีการกระทำร่วมกัน อาจเป็นในลักษณะของการแบ่งหน้าที่กันทำ…