ก่อนอื่นเลยทางบริษัท ลอว์รัย คอร์ปอเรชั่น จำกัด ขอแสดงความเสียใจอย่างสุดซึ้งกับครอบครัวผู้เสียชีวิตและขอร่วมไว้อาลัยต่อการจากไปของผู้เสียชีวิตและผู้บาดเจ็บ จากเหตุการณ์สะเทือนขวัญอดีตตำรวจก่อเหตุกราดยิงที่จังหวัดหนองบัวลำภู จากเกเหตุการณ์ดังกล่าวทำให้มีผู้เสียชีวิตและได้รับบาดเจ็บหลายรายทั้งเด็กและผู้ใหญ่ ภายหลังผู้ก่อเหตุได้ปลิดชีพตัวเองที่บ้านพัก พร้อมกับบุตรชายและภรรยา กรณีจึงทำให้เกิดเป็นข้อสงสัยว่าใครจะเป็นคนรับผิดชอบในความเสียหายที่เกิดต่อชีวิตและร่างกายของผู้เคราะห์ร้ายเหล่านั้นในคดีอาญา เมื่อผู้กระทำผิดถึงแก่ความตาย เป็นเหตุทำให้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องเป็นอันระงับ เนื่องจากความรับผิดและโทษทางอาญาเป็นเรื่องเฉพาะตัวของผู้กระทำความผิดโดยแท้ ไม่ตกทอดไปยังทายาท ไม่ว่าผู้กระทำความผิดจะถึงแก่ความตายในระหว่างการดำเนินคดีขั้นตอนใด ความตายของผู้กระทำความผิดย่อมทำให้สิทธิการนำคดีอาญามาฟ้องเป็นอันระงับไป และแม้ว่าผู้กระทำความผิดต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้ต้องรับโทษแล้วก็ตามโทษตามคำพิพากษานั้นก็เป็นอันระงับไปด้วยความตายของผู้กระทำความผิด อย่างไรก็ตามสิทธิในการฟ้องคดีระงับไปเฉพาะทางอาญาเท่านั้น หากการกระทำผิดมีมูลในทางแพ่งด้วย สิทธิในทางแพ่งของผู้เสียหายไม่ระงับลงไป เนื่องจากกองมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ หมายถึง ทรัพย์สินทุกชนิดของผู้ตาย ตลอดทั้งสิทธิหน้าที่และความรับผิดต่าง ๆ เว้นแต่ตามกฎหมายหรือว่าโดยสภาพแล้ว เป็นการเฉพาะตัวของผู้ตายโดยแท้จากกรณีตามข้อเท็จจริงการก่อเหตุกราดยิงทำให้มีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บ เป็นการกระทำละเมิดต่อบุคคลอื่น ทำให้เกิดความเสียหายซึ่งชีวิต ร่างกาย และทรัพย์สิน ผู้กระทำจึงต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้กับผู้เสียหาย เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงว่า ผู้กระทำได้เสียชีวิตในเวลาต่อมาก่อนที่จะมีการดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมาย ผู้เสียหายก็ไม่อาจฟ้องผู้กระทำผิดได้เพราะในขณะฟ้องไม่มีสภาพบุคคลแล้ว แต่เนื่องจากกฎหมายกำหนดว่าความรับผิดต่างๆของผู้ตายที่ไม่ใช่การเฉพาะตัวของผู้ตายโดยแท้ ให้เป็นกองมรดกตกแก่ทายาทโดยธรรมด้วย เมื่อหนี้อันเกิดแต่มูลละเมิดที่ผู้ต่ยได้กระทำไม่ใช่การเฉพาะตัวของผู้ตายโดยแท้ ย่อมเป็นมรดกตกแก่ทายาทโดยธรรมอย่างไรก็ตามผู้เสียหายสามารถฟ้องให้รับผิดในฐานะทายาทโดยธรรมเท่านั้น ไม่อาจฟ้องให้รับผิดในฐานะส่วนตัวได้…

9 มิถุนา 65 กัญชาถูกกฎหมาย!
9 มิถุนา 65 กัญชาถูกกฎหมาย! ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ชื่อยาเสพติดให้โทษประเภท 5 พ.ศ.2565 มีผลบังคับใช้ในวันที่ 9 มิ.ย.2565 มีผลให้สารสกัดที่มีปริมาณ THC ไม่เกิน ร้อยละ 0.2 อันได้จากกัญชา กัญชงที่ปลูกภายในประเทศ รวมถึงสารสกัดจากเมล็ดของพืชกัญชา กัญชงที่ได้จากการปลูกภายในประเทศ ไม่เป็นยาเสพติดให้โทษประเภท 5 อีกต่อไป อย่างไรก็ตามหากเป็นสารสกัดจากกัญชาหรือกัญชงที่มีปริมาณสาร THC เกิน 0.2% หรือมีการนำเข้ากัญชาหรือกัญชงจากต่างประเทศ ก็ยังคงถือว่าเป็นยาเสพติดให้โทษประเภท 5 ตามประมวลกฎหมายยาเสพติดอยู่ จากประกาศดังกล่าวทำให้ประชาชนสามารถปลูกกัญชาได้อย่างถูกกฎหมายโดยไม่ต้องขออนุญาต เพียงแต่ต้องจดแจ้งการปลูกกัญชาผ่านแอพพลิเคชัน ที่ชื่อว่า ปลูกกัญ ที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อ.ย.) จะจัดเตรียมไว้ให้ ตั้งแต่วันที่…

ผู้บริโภคนำสืบพยานบุคคลถึงการใช้เงินตามสัญญากู้ยืมเงิน โดยไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือได้หรือไม่?
ผู้บริโภคนำสืบพยานบุคคลถึงการใช้เงินตามสัญญากู้ยืมเงิน โดยไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือได้หรือไม่? ในบางครั้งเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน คนเราก็มีความจำเป็นต้องใช้เงิน บ้างก็กู้ยืมเงินในระบบถูกต้องตามกฎหมาย แต่ก็ไม่น้อยเลยที่กู้ยืมเงินนอกระบบแล้วถูกเอารัดเอาเปรียบ เมื่อถึงเวลาที่ต้องคืนเงินก็คืนไปเฉยๆโดยที่ไม่ได้คำนึงถึงเอกสารต่างๆเพื่อให้เป็นหลักฐานว่าได้ชำระหนี้แล้ว จึงถูกเจ้าหนี้ซึ่งมีอำนาจมากกว่าเอาเปรียบโดยการอ้างว่ายังไม่ได้รับชำระหนี้บ้าง หรือได้รับชำระหนี้ไม่ครบบ้าง จึงเกิดข้อสงสัยว่าแล้วในกรณีดังกล่าวผู้กู้ยืมเงินจะทำอย่างไรได้บ้าง ประเด็นดังกล่าวมีข้อพิจารณาทางกฎหมายดังนี้ การกู้ยืมเงินเกินกว่า 2,000 บาท ขึ้นไปจะต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้ต้องรับผิด ก็คือ ผู้กู้ยืมเงิน มิฉะนั้นจะไม่สามารถฟ้องร้องบังคับคดี โดยหลักแล้วเมื่อเป็นการกู้ยืมเงินที่มีหลักฐานเป็นหนังสือนั้น ผู้กู้จะนำสืบการใช้เงินได้ก็ต่อเมื่อมีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ให้ยืมมาแสดงหรือเอกสารอันเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมนั้นได้เวนคืนแล้ว หรือได้แทงเพิกถอนลงในเอกสารนั้นแล้ว ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 653 เช่นนี้หากผู้กู้ไม่มีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งที่มีใจความว่าผู้ให้กู้ได้รับชำระหนี้เงินยืมคืน โดยโจทก์ผู้ให้กู้ลงลายมือชื่อมาแสดง และหนังสือกู้ยืมก็ยังอยู่ในความครอบครองของผู้ให้กู้โดยไม่ได้แทงเพิกถอนว่าได้รับชำระเงินคืนแล้ว ผู้กู้ย่อมไม่อาจนำสืบถึงการใช้เงินได้ อย่างไรก็ตาม พระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ.2551 มาตรา 10 วางหลักว่า ไม่ให้นำบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่บังคับให้นิติกรรมใดที่ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อฝ่ายที่ต้องรับผิด มาใช้บังคับแก่ผู้บริโภคในการฟ้องบังคับให้ผู้ประกอบธุรกิจชำระหนี้ แม้กฎหมายจะบัญญัติถึงในกรณีที่ผู้บริโภคฟ้องให้ผู้ประกอบธุรกิจชำระหนี้เท่านั้นที่จะได้รับการยกเว้นตามบทบัญญัติดังกล่าว แต่เมื่อพิจารณาถึงเจตนารมณ์ของกฎหมายแล้วพบว่าไม่เพียงต้องการคุ้มครองผู้บริโภคในฐานะโจทก์เท่านั้น แต่ยังมุ่งคุ้มครองถึงในการดำเนินกระบวนพิจารณาในกรณีที่ตกเป็นจำเลย ดังนั้นจึงให้มีผลใช้บังคับถึงกรณีที่ผู้บริโภคต่อสู้คดีด้วย ทั้งยังรวมถึงการไม่ให้นำมาตรา…

บุตรนอกสมรส มีสิทธิรับมรดกของบิดาหรือไม่?
บุตรนอกสมรส คือ บุตรที่เกิดจากบิดามารดาที่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน แม้จะถือว่าเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของมารดา แต่ก็ไม่ถือว่าเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของบิดา เว้นเสียแต่ว่า บิดามารดาได้จดทะเบียนสมรสกันในภายหลังหรือบิดาได้จดทะเบียนว่าเป็นบุตรหรือศาลพิพากษาว่าเป็นบุตร แม้ไม่ได้กระทำการตามวิธีข้างต้น แต่หากปรากฏว่าบุตรนอกสมรสหรือบุตรนอกกฎหมาย บิดาได้รับรองโดยพฤติการณ์แล้ว กฎหมายให้ถือว่าบุตรนอกสมรสนั้นเป็นผู้สืบสันดาน เหมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย และเป็นทายาทโดยธรรมที่มีสิทธิในกองมรดกของบิดา รวมถึงมีสิทธิรับมรดกแทนที่บิดาด้วย พฤติการณ์ที่ถือว่าบุตรนอกสมรสหรือบุตรนอกกฎหมายนั้น บิดาได้รับรองว่าเป็นบุตรของตนแล้ว เช่น ให้เลี้ยงดูบุตร กับมารดาของบุตร และยินยอมให้บุตร ใช้ชื่อสกุลของตนอย่างเปิดเผยแก่บุคคลทั่วไป หรือ บิดามีพฤติการณ์ยกย่อง มารดาของบุตรเป็นภรรยาและไม่ปรากฏข้อเท็จจริงอื่นให้เห็นว่าปฏิเสธหรือไม่ยอมรับว่าเด็กในครรภ์เป็นบุตร ย่อมเป็นพฤติการณ์ที่ถือได้ว่าเป็นการรับรองว่าบุตรนอกสมรสเป็นบุตรของผู้เป็นบิดาแล้ว อย่างไรก็ตามแม้บุตรที่บิดารับรองโดยพฤติการณ์จะถือว่าเป็นผู้สืบสันดาน ทายาทโดยธรรมลำดับที่ 1 ในประการที่จะทำให้มีสิทธิได้รับมรดกของบิดาก็ตาม แต่ในกรณีที่บุตรตายก่อนบิดา บิดาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายนี้จะไม่มีสิทธิรับมรดกของบุตรในฐานะทายาทโดยธรรม เพราะเมื่อเป็นบิดาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายก็เท่ากับว่าไม่มีฐานะเป็นทายาทโดยธรรมของบุตร แม้ว่ากฎหมายจะให้ถือว่าบุตรนอกสมรสที่บิดารับรองโดยพฤติการณ์ มีฐานะเป็นผู้สืบสันดานเหมือนกับบุตรโดยชอบด้วยกฎหมาย ก็มีผลทำให้ได้รับมรดกของบิดาในฐานะทายาทโดยธรรมเท่านั้น ไม่ได้มีผลทำให้เป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายแต่อย่างใด เช่นนี้หากบิดาถูกทำละเมิดจนถึงแก่ความตาย บุตรนอกกฎหมายนี้ก็ไม่มีสิทธิเรียกค่าขาดไร้อุปการะจากผู้ทำละเมิด เพราะเมื่อไม่ใช่บิดาโดยชอบด้วยกฎหมาย ก็ไม่มีหน้าที่ในการอุปการะเลี้ยงดูบุตร…

อยู่กินฉันสามีภรรยา ไม่ได้จดทะเบียนสมรส ทรัพย์สินตกเป็นของใคร??
การที่อยู่กินกันฉันสามีภรรยา แต่ไม่ได้จดทะเบียนสมรส แต่ระหว่างนั้นก็ทำมาหาได้ร่วมกัน จึงได้มาซึ่งทรัพย์สินต่างๆ แต่ปัญหาอยู่ที่ว่า ใส่แต่ชื่อสามีหรือภรรยาเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์แต่เพียงฝ่ายเดียว อีกฝ่ายหนึ่ง ซึ่งไม่ได้มีชื่อเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ จะสามารถฟ้อง เพื่อให้ได้มา ซึ่งทรัพย์สินได้หรือไม่? ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ หากสามีภรรยาจดทะเบียนสมรสกันตามที่กฎหมายกำหนด ทรัพย์สินที่ได้มาในระหว่างสมรสจะเรียกว่า สินสมรส ต่างจากกรณีที่อยู่กินกันฉันสามีภรรยา แต่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสจึงไม่เป็นคู่สมรสต่อกัน บุตรที่เกิดมาก็ถือว่าเป็นบุตรของหญิงฝ่ายความสัมพันธ์ในทางทรัพย์สินระหว่างสามีภรรยาก็ไม่เกิดขึ้น กล่าวคือ ไม่เกิดระบบสินส่วนตัวและสินสมรส แต่อย่างไรก็ตามทรัพย์สินที่ทำมาหาได้ร่วมกันจะเรียกว่า กรรมสิทธิ์รวม ผลคือถ้าเจ้าของรวมทุกคนไม่ได้ตกลงกันไว้ก่อนว่าใครจะมีกรรมสิทธิ์คนละกี่ส่วน กฎหมายท่านก็ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเจ้าของรวมแต่ละคนมีสัดส่วนคนละเท่าๆ กัน จึงมีสิทธิในการจัดการทรัพย์สินร่วมกันดังนั้น แม้อยู่กินกันฉันสามีภรรยาแต่ไม่ได้จดทะเบียนสมรส หากแต่ทำมาหาได้ร่วมกัน ทรัพย์สินนั้นก็จะเป็นกกรมสิทธิ์รวม และปัญหาอีกอย่างหนึ่งคือ เพียงใดถึงเรียกว่าทำมาหาได้ร่วมกัน หมายความเฉพาะแต่การที่ร่วมกันทำงาน หรือประกอบธุรกิจต่างๆ แล้วได้เงินหรือทรัพย์สินมา หรือจะหมายความรวมถึง ฝ่ายหนึ่งทำงานประกอบกิจการค้าส่วนอีกฝ่ายอยู่บ้านเลี้ยงบุตร ดูแลบ้าน ดูแลครอบครัวสร้างครอบครัวที่อบอุ่น แต่มีทรัพย์สินหลายสิ่งหลายอย่างเพิ่มขึ้น จะถือว่าการที่ฝ่ายที่ทำหน้าที่ดูแลครอบครัว…

รับน้องโหดจนเสียชีวิต เสี่ยงคุก!!
จากกรณีที่ปรากฏเป็นกระแสข่าวว่า มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งได้จัดกิจกรรมรับน้องสุดโหด รุ่นพี่ได้พารุ่นน้องไปในป่า บังคับให้ดื่มแอลกอฮอล์ รุมทำร้ายจนรุ่นน้องหมดสติ และระหว่างทางไปโรงพยาบาลรุ่นน้องเสียชีวิต จึงเกิดข้อสงสัยว่ารุ่นพี่มีความผิดอย่างไรบ้าง การจัดกิจกรรมรับน้อง มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความสัมพันธ์ระหว่างนักศึกษาที่เข้ามาใหม่และรุ่นพี่ให้รู้จักกันผ่านการทำกิจกรรมต่างๆ มีทั้งกิจกรรมอย่างสร้างสรรค์ และกิจกรรมที่ไม่สร้างสรรค์ที่เกิดขึ้นบ่อยๆในทุกวันนี้ ทั้งการใช้ความรุนแรง คุกคามทางเพศ ซึ่งทำให้รุ่นน้องได้รับบาดเจ็บและหนักที่สุดคือ ความตาย จากการรับน้องที่ไม่สร้างสรรค์ ใช้ความรุนแรง จนเป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิต เป็นการกระทำโดยประมาท อันเป็นการกระทำโดยปราศจากความระมัดระวัง ซึ่งบุคคลในภาวะเช่นนักศึกษาซึ่งเป็นปัญญาชนของชาติ จักต้องมีตามวิสัยและพฤติการณ์ บุคคลที่เป็นนักศึกษาอาจใช้ความระมัดระวังเช่นว่านั้นได้ แต่หาได้ใช้ให้เพียงพอไม่ กล่าวคือ นักศึกษาที่จัดกิจกรรมรับน้อง ควรต้องจัดกิจกรรมที่สร้างสรรค์เพื่อให้ตรงกับวัตถุประสงค์ที่แท้จริงของกิจกรรมที่ต้องการสร้างความรักความสามัคคี และต้องดูแลความปลอดภัยให้รุ่นน้อง แต่นักศึกษาดังกล่าวก็ไม่ใช้ความระมัดระวังให้เพียงพอ กลับจัดกิจกรรมเพื่อความสนุก สะใจ หรืออาจเพื่อให้รุ่นน้องเคารพและเกรงกลัว โดยการขู่บังคับรุ่นน้องและใช้ความรุนแรง จนเป็นเหตุให้รุ่นน้องที่เข้าร่วมกิจกรรมต้องเสียชีวิต ดังนั้น รุ่นพี่นักศึกษาดังกล่าวจึงเข้าข่ายมีความผิดฐานกระทำการโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 291 อย่างไรก็ตาม ประเด็นดังกล่าวก็มีข้อกฎหมายที่น่าสนใจเพิ่มเติมคือ…

พยานกลับคำให้การ ผิดหรือไม่??
จากกรณีที่ปรากฏเป็นกระแสข่าวว่าพยานในคดีหนึ่งได้กลับคำให้การในชั้นสอบสวน จึงทำให้หลายคนเกิดข้อสงสัยว่า การกลับคำให้การมีความผิดหรือไม่ ประเด็นดังกล่าวมีหลักกฎหมายที่เกี่ยวข้องคือเรื่อง การแจ้งข้อความอันเป็นเท็จ การแจ้งข้อความอันเป็นเท็จ สามารถทำได้หลายวิธี ไม่ว่าจะเป็นการตอบคำถามเจ้าพนักงาน เช่น การให้การเท็จในฐานะพยาน หรืออาจจะเป็นการแจ้งโดยวิธีแสดงหลักฐาน โดยข้อความที่แจ้งต้องเป็นข้อเท็จจริงในอดีตหรือในปัจจุบัน หากเป็นเรื่อง ‘อนาคต’ จะไม่ถือว่าเป็นความเท็จ เพราะไม่แน่นอนว่าจะเกิดขึ้นหรือไม่ อีกทั้งข้อความอันเป็นเท็จนั้นต้องเป็นข้อสำคัญในคดีไม่ใช่เป็นเพียงรายละเอียด นอกจากนี้การแจ้งความเท็จต้องมีลักษณะเป็นการยืนยันข้อเท็จจริง ไม่ใช่เพียงการแสดงความคิดเห็น หรือการคาดคะเนถึงเหตุการณ์ในอนาคต และการแจ้งความเท็จนั้น ผู้แจ้งต้องกระทำโดยเจตนา กล่าวคือ ต้องรู้ข้อเท็จจริงว่าสิ่งที่แจ้งนั้นเป็นเท็จ ไม่เป็นความจริงตามที่แจ้ง แต่ถ้าแจ้งตามที่เข้าใจเช่นนี้ถือว่าผู้แจ้งไม่มีเจตนา หากปรากฏข้อเท็จจริงว่าผู้แจ้งข้อความอันเป็นเท็จ มีเจตนาเพื่อจะแกล้งให้บุคคลอื่นต้องถูกบังคับตามวิธีการเพื่อความปลอดภัย เช่น การถูกคุมขัง กรณีนี้ก็จะทำให้ผู้แจ้งต้องรับโทษหนักขึ้น และหากเป็นการแจ้งข้อความอันเป็นเท็จในกรณีแห่งข้อหาที่ว่า ผู้อื่นกระทำผิดในความผิดที่มีโทษจำคุกตั้งแต่ 3 ปีขึ้นไป หรือประหารชีวิต หรือจำคุกตลอดชีวิต เช่นนี้ ผู้กระทำก็จะได้รับโทษหนักขึ้นอีก เพราะเป็นพฤติการณ์ร้ายแรง…

ทนายความนำข้อมูลที่รับปรึกษามาเปิดเผย ผิดมรรยาท ทนายความหรือไม่ ??
จากที่มีทนายหลายท่านได้ออกมาวิพากษ์วิจารณ์ แสดงความคิดเห็น ชี้นำ ในคดีที่กำลังเป็นกระแสอยู่ในตอนนี้ ทั้งยังมีทนายบางท่านได้อ้างว่าตนได้ให้คำปรึกษากับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในคดี แต่ภายหลังกลับปรากฏว่าทนายผู้นั้นได้นำข้อมูลที่ได้รับปรึกษาออกมาเปิดเผย จึงมีประเด็นว่าทนายเหล่านั้นประพฤติผิดมรรยาทนายความหรือไม่ ประเด็นดังกล่าวมีข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องดังนี้ข้อบังคับสภาทนายความว่าด้วยมรรยาททนายความ พ.ศ. 2529 ข้อ 13 ได้วางหลักว่า ทนายความผู้ใดที่ได้รับปรึกษาเรื่องคดีในหน้าที่อันเกี่ยวข้องกับลูกความฝ่ายหนึ่ง แต่ภายหลังกลับใช้ความรู้ ข้อเท็จจริงที่ได้รับรู้มาไปช่วยเหลือคู่ความอีกฝ่ายที่เป็นปรปักษ์อยู่ในกรณีเดียวกัน เป็นการประพฤติผิดมรรยาททนายความ เพราะส่งผลเสียต่อลูกความฝ่ายแรก เนื่องจากผู้ที่เป็นทนายความ เป็นผู้ที่มีความรู้ทางกฎหมายเป็นอย่างดี ลูกความที่มาปรึกษาจึงไว้เนื้อเชื่อใจ เล่าข้อเท็จจริงให้ฟัง เพื่อให้ทนายช่วยเหลือลูกความที่กำลังเดือดเนื้อร้อนใจ ไม่ว่าความจริงแล้วลูกความฝ่ายนั้นทำผิดกฎหมายจริงๆ ก็ตาม ทนายความผู้นั้นก็ต้องเก็บเอาไว้เป็นความลับ ไม่ใช่นำมาเปิดเผยเพื่อช่วยเหลือคู่ความฝ่ายตรงข้าม ดังนั้น จากกรณีที่มีทนายบางท่านได้อ้างว่าตนได้ให้คำปรึกษากับบุคคลหนึ่ง แต่ภายหลังกลับปรากฏว่าทนายผู้นั้นได้นำข้อมูลที่ได้รับปรึกษาออกมาเปิดเผย เพื่อช่วยเหลือคู่ความฝ่ายตรงข้ามที่เป็นปรปักษ์ในกรณีเดียวกันนั้น ไม่ว่าจะช่วยเหลือเพราะเป็นคนที่สนิทใจ เป็นคนรู้จักคุ้นเคยก็ตาม ทนายความผู้นั้นก็อาจจะประพฤติผิดมรรยาททนายความ ข้อ 13 ได้ เพราะเป็นการทำให้คู่ความที่เคยมาปรึกษาก่อนได้รับความเสียหาย นอกจากนี้แล้ว ทนายความท่านอื่นๆที่ไม่ใช่ทนายความที่มีส่วนเกี่ยวข้องในคดี…

ชี้นำข้อเท็จจริงในคดี ระวังโทษ!!
จากกรณีปรากฏกระแสข่าวในคดีหนึ่งว่า ผู้ที่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับคดี ต่างออกมาวิพากษ์วิจารณ์เสมือนหนึ่งว่าตนรู้เห็นข้อเท็จจริงในสำนวน บ้างก็อ้างว่ามีแหล่งข่าวที่ไม่ประสงค์ออกนาม ต่างๆนา แล้วนำข้อเท็จจริงมาพูดชี้นำ กรณีแบบนี้ผิดกฎหมายหรือไม่ อย่างไร?? แม้ประชาชนจะมีสิทธิเสรีภาพในการแสดงความเห็น การพูด การโฆษณา ตามที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยได้รับรองไว้ แต่อย่างไรก็ตามการใช้สิทธิเสรีภาพดังกล่าวก็จะต้องไม่เป็นการก้าวล่วงสิทธิของผู้อื่นเช่นเดียวกัน ดังนั้น หากใช้เสรีภาพเกินขอบเขตก็อาจมีความผิดไดประเด็นดังกล่าวมีข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ดังนี้ ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 326 ผู้ใดใส่ความผู้อื่นต่อบุคคลที่สาม โดยประการที่น่าจะทำให้ผู้อื่นนั้นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชัง ผู้นั้นกระทำความผิด ฐานหมิ่นประมาท การใส่ความ คือ การทำให้ปรากฏข้อเท็จจริงไม่ว่าจะเป็นความจริงหรือความเท็จก็ตาม หากทำให้ผู้อื่นเสียหายก็เป็นความผิด และรวมไปถึงการเล่าเรื่องที่ตนได้ยินมาให้บุคคลอื่นฟังก็เป็นการใส่ความอย่างหนึ่งเช่นกัน โดยการใส่ความนั้นมีหลายวิธี ทั้งการใช้คำพูด การแสดงกิริยาท่าทาง หรือสัญลักษณ์ต่างๆ ข้อเท็จจริงที่จะเป็นหมิ่นประมาทได้นั้น ต้องไม่ใช่ข้อเท็จจริงที่เป็นไปไม่ได้ เช่น นายเอ กล่าวว่า นายบีเป็นผีกระหัง…

เงินประกันชีวิตเป็นมรดกหรือไม่???
จากที่ปรากฏเป็นกระแสข่าวดังว่าผู้เสียชีวิตรายหนึ่งได้มีกรมธรรม์ประกันชีวิตจากอุบัติเหตุ โดยได้ระบุให้ลูกบุญธรรมเป็นผู้รับผลประโยชน์ และจากเรื่องนี้ ทำให้แม่ของผู้เสียชีวิตจะยื่นคัดค้าน เพื่อให้เงินตามกรมธรรม์ดังกล่าวตกเป็นของทายาทหรือบุคคลในครอบครัว ประเด็นดังกล่าวทำให้หลายคนเกิดความสงสัยว่า เงินประกันกันชีวิตเป็นมรดกหรือไม่ ตามประมวลกฎหมายเพ่งและพาณิชย์ กองมรดก คือ ทรัพย์สินทุกชนิด รวมถึงสิทธิหน้าที่และความรับผิดต่างๆของผู้ตาย อันไม่ใช่การเฉพาะตัวของผู้ตายโดยแท้ และมีอยู่ก่อนหรือในขณะที่ผู้ตายถึงแก่ความตาย สำหรับเงินประกันชีวิตนั้น เป็นทรัพย์สินที่ผู้ตายไม่ได้มีอยู่ก่อนหรือขณะถึงแก่ความตาย แต่เงินประกันชีวิตจะเกิดได้แต่โดยอาศัยเหตุจากความตายของผู้เอาประกัน เช่นนั้นแล้วเมื่อเงินประกันชชีวิตไม่ใช่เงินที่เจ้ามรดกมีอยู่แล้วก่อนตาย เงินประกันชีวิตจึงไม่ใช่มรดก ไม่ตกทอดสู่ทายาทแต่อย่างใด ดังนั้น เงินประกันชีวิต ไม่ใช่มรดกแต่ปัญหามีเพิ่มต่อไปว่า ถ้าผู้เอาประกันภัย ระบุชื่อบุคคลอื่นเป็นผู้รับประโยชน์ตามกรมธรรม์ประกันชีวิต แล้วปรากฏว่าผู้รับประโยชน์ตายก่อนผู้เอาประกันชีวิต จะทำยังไง ใครจะมีสิทธิในเงินประกันชีวิต?? ก่อนอื่นเลย ต้องเข้าใจก่อนว่า สัญญาประกันชีวิตที่ระบุชื่อผู้รับประโยชน์ มีลักษณะเป็นสัญญาเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอก บุคคลภายนอกจะเกิดสิทธิตามสัญญาได้ก็ต่อเมื่อได้แสดงเจตนาเข้าถือเอาสิทธิตามสัญญา ไม่ใช่เกิดทันทีที่เกิดสัญญาประกันชีวิต ดังนั้น เมื่อผู้รับประโยชน์ตามสัญญาประกันชีวิต ถึงแก่ความตายก่อนผู้เอาประกันชีวิต จึงไม่เอาจแสดงเจตนาเข้าถือเอาสิทธิตามสัญญาประกันชีวิตได้ เงินตามสัญญาประกันชีวิตก็จะไม่เป็นมรดกของผู้รับประโยชน์ แล้วก็เกิดปัญหาต่อไปว่า…