EP 2 การสู้คดีของ บาสมีดคู่ การอ้างป้องกันสมควรแก่เหตุได้หรือไม่ ?

ภาพจาก Thaigerข่าว

กรณี บาสมีดคู่ นอกจากจะเกิดกระแสดราม่าเห็นใจ บาสมีดคู่ สมน้ำหน้า ๖ โจ๋ แล้วยังเกิดประเด็นถกเถียงกัน ในหมู่นักกฎหมายว่า “กรณีของ บาสมีดคู่ ในแนวทางการต่อสู้คดี จะอ้างป้องกันโดยสมควรแก่เหตุ ได้หรือไม่ ถ้าหากอ้างไม่ได้ ผลคดีจะเป็นอย่างไร” เพราะการต่อสู้คดี หากศาลฟังได้ว่า “เป็นการป้องกันพอสมควรแก่เหตุได้ จะให้การกระทำของ บาสมีดคู่ ไม่มีความผิด แต่ถ้าฟังไม่ได้ว่าเป็นการป้องกันพอสมควรแก่เหตุแล้ว อาจต้องรับผิดฐานฆ่าคนตายโดยเจตนา และอาจจะถึงขั้นเจตนาไตร่ตรองไว้ก่อนได้ ซึ่งมีโทษสูงสุดถึงประหารชีวิต หรือจำคุกตลอดชีวิต

ข้อเท็จจริงตามภาพข่าว ที่ทำให้นักกฎหมายมีความเห็นที่ต่างๆกัน ก็คือ “ในช่วงที่ 6 โจ๋มายื่นตะโกนเรียก บาสมีดคู่ ให้อออกจากบ้าน แล้ว บาสมีดคู่ วิ่งออกจากบ้าน พร้อมมีดคู่ที่มีผ้ามัดติดกับมือ เข้าลุยกับ 6 โจ๋ ทำให้ 2 ใน 6 โจ๋ ตาย 2 ศพ และ บาดเจ็บ 1 คน” จากข้อเท็จจริงนี้นักกฎหมายบางฝ่ายจึงเห็นว่า “ แม้ 6 โจ๋ จะมาร้องตะโกนหน้าบ้าน ให้ บาสมีดคู่ ออกมาเคียร์ โดยมี 1 ใน 6 โจ๋ ดันไม้ม็อบถูบ้านหล่นลงมาก็ตาม แต่ 6 โจ๋ ก็ยังไม่ได้เข้ามาในบริเวณบ้าน ประกอบกับยังไม่มีพฤติการณ์ใดๆ ที่นอกจากตะโกนเรียกให้ออกมา ที่จะพอฟังได้ว่า 6 โจ๋ จะบุกเข้ามาทำร้าย บาสมีดคู่ และแฟนภายในบ้าน” นักกฎหมายฝ่ายนี้จึงเห็นว่า “พฤติการณ์การกระทำของ 6 โจ๋ #ยังไม่ถึงขนาดที่จะเป็นภยันตรายอันใกล้จะถึงตัว บาส มีดคู่ จึงไม่สามารที่จะอ้าง การป้องกันพสมควรแก่เหตุได้ เมื่ออ้างไม่ได้ จะเป็นเหตุ บาสมีดคู่ ต้องรับโทษฐานฆ่าคนตายโดยเจตนา หรือฆ่าคนตายโดยเจตนาไตร่ตรองไว้ก่อน ซึ่งโทษสูงสุดถึงประหารชีวิต หรือจำคุกตลอดชีวิต
ส่วนนักกฎหมายอีกฝ่ายเห็นว่า การที่ 6 โจ๋ มาร้องตะโกนหน้าบ้านให้ บาสมีดคู่ ออกมาเคียร์ มี 1 ใน 6 โจ๋ ดันไม้ม็อบถูบ้านหล่นลงมา แม้ 6 โจ๋ จะยังไม่ได้เข้ามาในบริเวณบ้าน แต่ถือว่าเป็นภยันตรายที่ใกล้จะถึงตัวแล้ว โดยไม่จำต้องรอให้ 6 โจ๋ เข้ามาในบ้านเสียก่อน ประกอบกับ 6 โจ๋ พวกเยอะ แม้ไม่มีอาวุธ แค่กระทืบก็ถึงตายได้

นักกฎหมายฝ่ายนี้ จึงเห็นว่า การกระทำของบาสมีดคู่ เป็นการป้องกันพอสมควรแก่เหตุแล้ว ทำให้การกระทำของบาสมีดคู่ ไม่เป็นความผิด
ดังนั้น ในการต่อสู้คดีของบาสมีดคู่ ที่จะทำให้ศาลฟังข้อเท็จจริงเป็นที่ยุติได้ว่า เป็นการป้องกันพอสมควรแก่เหตุหรือไม่ จึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง

มีคำพิพากษาฎีกา ที่น่าสนใจ คือ ฎีกาที่ 5299/2562
การที่ผู้เสียหายกับพวกขว้างปาขวดสุราและไม้เข้าไปยังบริเวณที่จำเลยและ ว. หลบซ่อนอยู่โดยจำเลยและ ว. มิได้ก่อเหตุขึ้นก่อน ย่อมเป็นเหตุทำให้จำเลยสำคัญผิดว่าผู้เสียหายกับพวกซึ่งมีจำนวนมากกว่ามีเจตนาประทุษร้ายจำเลยและ ว. อันเป็นภยันตรายซึ่งเกิดจากการประทุษร้ายอันละเมิดต่อกฎหมาย และเป็นภยันตรายที่ใกล้จะถึง จำเลยจึงมีสิทธิกระทำการป้องกันเพื่อให้พ้นจากภยันตรายดังกล่าว แต่ไม่ปรากฏว่าผู้เสียหายกับพวกมีอาวุธร้ายแรงอื่นใดอีก การที่จำเลยใช้อาวุธปืนยิงผู้เสียหายกับพวกย่อมไม่ได้สัดส่วนกับการป้องกันตัวของจำเลย การกระทำของจำเลยจึงเป็นการป้องกันเกินสมควรแก่เหตุโดยสำคัญผิด เมื่อกระสุนปืนที่จำเลยยิงถูกผู้เสียหายเป็นเหตุให้ผู้เสียหายได้รับบาดเจ็บเป็นอันตรายสาหัส จำเลยมีความผิดฐานร่วมกันพยายามฆ่าผู้อื่นอันเป็นการป้องกันเกินสมควรแก่เหตุโดยสำคัญผิด

การสู้คดีของ “บาสมีดคู่” จะอ้างบันดาลโทสะได้หรือไม่ ???
ที่ได้นำเสนอไปก่อนหน้านี้แล้วนั้น มีประเด็นที่นักกฎหมายและผู้ที่สนใจด้านกฎหมาย หรือแม้แต่ประชาชนทั่วไปต่างวิพากษ์วิจารณ์กันว่าการกระทำของ “บาสมีดคู่” จะอ้างป้องกันได้หรือไม่นั้น ได้นำเสนอไปก่อนหน้านี้แล้ว วันนี้เราจะมาพูดคุยกันว่าหากไม่สามารถอ้างป้องกันได้จะอ้างบันดาลโทสะได้หรือไม่ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจความหมายของการป้องกัน และบันดานโทสะพอคร่าว ๆ ก่อน ครับว่ามีความหมายอย่างไร การป้องกัน ถ้าเป็นการป้องกันพอสมควรแก่เหตุผู้กระทำจะไม่มีความผิดเลย บันดาลโทสะ ผู้กระทำยังมีความผิด แต่ศาลจะลงโทษน้อยกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้เพียงใดก็ได้ การจะอ้างบันดาลโทสะได้จะต้องเป็นการถูกข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรมจึงกระทำความผิดต่อผู้ข่มเหงในขณะนั้น
ข้อเท็จจริงตามภาพข่าวที่ “บาสมีดคู่” ถือมีดวิ่งเข้าไปหากลุ่มโจ๋ทั้ง 6 คน ถือเป็นการสมัครใจเข้าวิวาท ไม่เป็นการถูกข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรมจึงไม่อาจอ้างบันดาลโทสะได้ (เช่นเดียวกับอ้างป้องกันไม่ได้)

มีคำพิพากษาฎีกา ที่น่าสนใจ คือ ฎีกาที่ 4686/2545
ก่อนเกิดเหตุผู้ตายกับครอบครัวจำเลยมีเรื่องทะเลาะกันอย่างรุนแรง ต่อมาผู้ตายได้มาโต้เถียงกับจำเลยเป็นเวลานาน จำเลยย่อมจะมีความโกรธเคืองผู้ตายเป็นอย่างมากถึงกับมีการท้าทายให้ไปตกลงกันที่ฟากคลองฝั่งตรงกันข้าม และจำเลยได้ถือมีดปลายแหลมขนาดใหญ่ออกเดินนำหน้าไปก่อนอันถือได้ว่าจำเลยได้สมัครใจเข้าวิวาทและต่อสู้กับผู้ตาย เป็นการเข้าสู้ภัยโดยไม่มีกฎหมายให้อำนาจไว้ แม้ผู้ตายถือจอบขนาดใหญ่เดินตามจำเลยและได้ทำร้ายจำเลยก่อนก็เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นขณะที่จำเลยกับผู้ตายสมัครใจวิวาทกัน ดังนั้น จำเลยจึงไม่อาจที่จะอ้างสิทธิป้องกันได้ตามกฎหมาย และเมื่อจำเลยสมัครใจที่จะไปต่อสู้กับผู้ตายเอง จึงไม่อาจถือได้ว่าจำเลยถูกข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรม จึงไม่อาจอ้างเหตุบันดาลโทสะได้เช่นเดียวกัน


ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 72 ผู้ใดบันดาลโทสะโดยถูกข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรม จึงกระทำความผิดต่อผู้ข่มเหงในขณะนั้น ศาลจะลงโทษผู้นั้นน้อยกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นเพียงใดก็ได้

Facebook
Twitter
Email
WhatsApp